Page 57 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   48




                                                          สรุปผลการทดลอง
                            1. ชุดดินบาเจาะ มีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด – กรด

                     เล็กน้อย ( pH 5.5-6.0 ) มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต ่า มีการระบายน ้าดีมาก เก็บรักษาความชื้นและธาตุ

                     อาหารพืชไว้ไม่ค่อยได้ เป็นดินที่มีปัญหาต่อการเพาะปลูก การทดลองโดยใช้วิธีการต่างๆในการปรับปรุงดิน
                     ทรายจัดเพื่อปลูกข้าวโพดหวาน ให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกร

                            2. การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดโดยการจัดการด้วยวิธี

                     ต่างๆ พบว่า ในการทดลองการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่างชนิดกัน และระดับที่ต่างๆกัน ไม่ได้ท าให้การ
                     เปลี่ยนแปลงสมบัติของดินแตกต่างกัน

                            3. การศึกษาการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานในดินทรายจัด

                                   - การทดลองปีที่ 1 การใส่ปัจจัยต่างๆลงไปในดินทรายจัด การสะสมหรือกักเก็บธาตุอาหาร
                     พืชและความชื้นในดิน ยังมีน้อย ส่งผลให้การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานไม่สม ่าเสมอกัน

                                   - การทดลองปีที่ 2 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง การเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานมีความสม ่าเสมอ

                     ส่งผลให้ในปีที่ 2 ผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกต ารับการทดลอง ซึ่งพบว่า ต ารับที่ 6 ที่มีการใส่ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 4,000
                     กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด(ปอเทือง) และน ้าหมักชีวภาพ พด.2 มีค่าการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของ

                     ข้าวโพดหวานในดินทรายจัดสูงที่สุด

                            4. การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวาน จากการทดลองทั้ง 2 ปี พบว่า ต ารับที่ 6 ที่
                     มีการใส่ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด(ปอเทือง) และน ้าหมักชีวภาพ พด.2 แม้

                     ต้นทุนการผลิตจะสูงกว่าวิธีอื่นๆ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตแล้ว ในต ารับที่ 6 ก็ยังคงให้ผลตอบแทนทาง

                     เศรษฐกิจสูงที่สุด


                                                          ปัญหาและอุปสรรค

                        1.  การทดลองขาดการต่อเนื่องท าการทดลอง ก่อนการทดลองในปีที่ 2เกษตรกรได้ใช้พื้นที่ในการท า

                     การเกษตร ส่งผลต่อสมบัติของดินก่อนการทดลองปีที่ 2

                        2.  ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวผลการทดลองในปีที่ 2 มีฝนตกมากกว่าปกติ จึงเกิดภาวะน ้าท่วมขัง




                                                             ข้อเสนอแนะ
                             การทดลองครั้งต่อไป จัดท าแปลงควบคุม และต ารับที่มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และต ารับการ

                     ทดลองวิธีการของเกษตรกร เพื่อเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62