Page 30 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           24



                    4.  การแทรกซึมน้ำของดิน

                        อัตราการแทรกซึมน้ำของดิน (Infiltration) เป็นข้อมูลสำคัญในการให้น้ำแก่พืช การไหลบ่าของน้ำผิวดิน หรือ
                    การพังทลายของดิน ซึ่งข้อมูลการแทรกซึมน้ำน่าจะสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างแปลงที่ใส่ถ่านชีวภาพและ
                    แปลงควบคุมได้  หากถ่านชีวภาพสามารถกักเก็บความชื้นในดินได้จริง การศึกษาอัตราการแทรกซึมน้ำของกลุ่มเนื้อ

                    ดินต่าง ๆ ด้วยเครื่องวัดอัตราการซึมน้ำของดินแบบถังคู่ (Double ring infiltrometer) ตามวิธีการใส่ถ่านชีวภาพ
                    (T1: ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ; T2: ใส่ถ่านชีวภาพทุกปี ปีละ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ รวม 2 ปี และ T3: ใส่ถ่านชีวภาพเพียง

                    ครั้งเดียว 2,000 กิโลกรัมต่อไร่) แต่ละครั้งดำเนินการในภาคสนาม ผลการทดสอบการแทรกซึมน้ำจากการทดสอบใน
                    แต่ละ 3 กลุ่มเนื้อดิน เป็นดังนี้

                       ▪  แปลงมันสำปะหลัง อำเภอจักราช ตัวแทนกลุ่มดินเนื้อหยาบ

                           อัตราการแทรกซึมน้ำเริ่มต้น และอัตราการแทรกซึมน้ำสุดท้าย (60 นาที) แสดงดังตารางที่ 8 อัตราการ
                    แทรกซึมน้ำเริ่มต้น แตกต่างกันไปตั้งแต่ 2.5 ถึง 24.0 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และอัตราการแทรกซึมน้ำท้ายสุด 0.01 ถึง

                    0.17 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง

                    ตารางที่ 8 แสดงอัตราการแทรกซึมน้ำเริ่มต้น และอัตราการแทรกซึมน้ำสุดท้าย ของกลุ่มเนื้อดินหยาบ
                    ช่วงระยะเวลา                          อัตราการแทรกซึมน้ำ (mm/hr)
                    ดำเนินการ                T1                      T2                      T3

                    ทดสอบ             เริ่มต้น    ท้ายสุด     เริ่มต้น    ท้ายสุด     เริ่มต้น    ท้ายสุด
                    พ.ค. 61            6.5        0.05         4.5         0.02        4.5         0.02

                    ส.ค. 61            4.0        0.01         2.5         0.02        5.5         0.02
                    พ.ย. 61            2.9        0.02        24.0         0.17        9.2         0.03

                    มิ.ย. 62           9.0        0.03        10.0         0.07        11.0        0.07
                    ส.ค. 62           13.0        0.07        13.0         0.07        15.0        0.08

                    หมายเหตุ: T1: ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ; T2: ใส่ถ่านชีวภาพทุกปี ปีละ 1000 กิโลกรัมต่อไร่รวม 2 ปี และ T3: ใส่ถ่านชีวภาพเพียงครั้งเดียว 2,000
                           กิโลกรัมต่อไร่
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35