Page 54 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           46

                                                     สรุปผลและข้อเสนอแนะ



                            การศึกษาปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและลุ่มน้ำห้วยลึก จะพบว่าในช่วงปีการศึกษา 2560

                   มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงที่สุดคิดเป็น 5,297.60 มิลลิเมตร ซึ่งแตกต่างกับช่วงปีการศึกษา 2563 ที่มีปริมาณ
                   น้ำฝนสะสมต่ำที่สุดคิดเป็น 1,085.60 มิลลิเมตร


                            การศึกษาการชะล้างพังทลายของดิน ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันได้แก่ 1) ศึกษาการชะล้างพังทลายของ
                   ดินจากปริมาณตะกอนในถังดักตะกอน 2) ศึกษาการชะล้างพังทลายของดินโดยวิธีปักหมุด 3) ประเมินการ

                   สูญเสียดินจากสมการทางคณิตศาสตร์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556) และ 4) ประเมินการสูญเสียดินจาก
                   แบบจำลอง Morgan, Morgan and Finney 1984 (MMF model) ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและลุ่มน้ำห้วยลึก

                   โดยศึกษาจากแปลงขนาด 4x22 เมตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 ถึง 2563 เป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่า

                            การศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากปริมาณตะกอนในถังดักตะกอนพบว่า ตลอดระยะเวลา

                   การศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกเกิดการสูญเสียดินมากกว่าพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกเกิดการสูญเสีย

                   ดินจากการชั่งน้ำหนักของดินในถังดักตะกอนได้เท่ากับ 2,357.87 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยเกิด
                   การสูญเสียดินจากการชั่งน้ำหนักของดินในถังดักตะกอนได้เท่ากับ 1,912.68 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็นอัตรา

                   การสูญเสียดินเท่า 0.79 และ 0.64 ตันต่อไร่ตอ่ปี ตามลำดับ เมื่อแบ่งแยกตามการใช้ประโยชน์ที่ดินจะพบว่า

                   ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบการปลูกพืชผัก (ECM03) เกิดการสูญเสียดินสะสมต่ำที่สุด
                   390 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย และในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                   แบบป่าเบญจพรรณ (ECM04) เกิดการสูญเสียดินสะสมต่ำที่สุด 269.25 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากบนพื้นที่มีสิ่ง

                   ปกคลุมผิวดินอยู่เป็นจำนวนมากจึงเกิดการชะล้างดินในอัตราต่ำ

                            การศึกษาการพัดพาและการเคลื่อนย้ายของดินโดยวิธีปักหมุดจะพบว่าในแต่ละปีการศึกษาจะเกิด

                   การพัดพาของดินภายในแปลงศึกษาแตกต่างกันออกไป ซึ่งปีการศึกษา 2562 ในแปลงพืชผัก (ECM06) เกิด
                   การพัดพาปริมาณของดินมากที่สุดคิดเป็น 3.69 ตันต่อไร่ต่อปี


                            การประเมินการสูญเสียดินจากสมการทางคณิตศาสตร์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556) พบว่าในปี
                   การศึกษา 2560 เกิดการสูญเสียดินมากที่สุดคิดเป็นอัตรา 0.09 ตันต่อไร่ต่อปี ทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและ

                   พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึก ซึ่งตลอดปีการศึกษาจะพบว่าเกิดการสูญเสียดินในอัตรา 0.20 ตันต่อไร่ต่อปี

                            การประเมินการสูญเสียดินจากแบบจำลอง Morgan, Morgan and Finney 1984 (MMF

                   model) พบว่าตลอดระยะเวลาการศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยเกิดการสูญเสียดินในอัตรา 3.05 ตันต่อไร่ต่อปี
                   และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกเกิดการสูญเสียดินในอัตรา 1.78 ตันต่อไร่ต่อปี


                            ผลการสูญเสียดินเฉลี่ยตลอดปีการศึกษาในทุกวิธีการศึกษาจะพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกจะมีอัตรา
                   การสูญเสียดินมากกว่าพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย ซึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกมีอัตราการสูญเสียดินตลอดปีการศึกษาในทุก

                   วิธีการศึกษาคิดเป็น 0.59 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยมีอัตราการสูญเสียดินตลอดปีการศึกษาในทุก

                   วิธีการศึกษาคิดเป็น 0.52 ตันต่อไร่ต่อปี
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58