Page 29 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           21






























                                     ภาพที่ 9 ปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือนในพื้นที่ศึกษา ปีพ.ศ.2563


                   *หมายเหตุ: ข้อมูลปริมาณน้ำฝนทั้งหมดได้มาจากสถานีอุตุนิยมวิทยา โครงการหลวงห้วยลึก


                   2. การชะล้างพังทลายของดิน

                          การศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและลุ่มน้ำห้วยลึก จากแปลงศึกษาขนาด

                   กว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันตามระดับความลาดชันของพื้นที่ 3 ระดับ

                   ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำความลาดชัน 30-35 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่บริเวณกลางน้ำความลาดชัน 20-25 เปอร์เซ็นต์ และ
                   พื้นที่บริเวณปลายน้ำความลาดชัน 9-10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อศึกษาและประเมินการสูญเสียดินในพื้นที่ศึกษาโดย

                   ได้แบ่งออกเป็น 4 วิธีการศึกษา 1) ศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากปริมาณตะกอนในถังดักตะกอน 2)
                   ศึกษาการชะล้างพังทลายของดินโดยวิธีปักหมุด 3) ประเมินการสูญเสียดินจากสมการทางคณิตศาสตร์ (กรม

                   พัฒนาที่ดิน, 2556) และ 4) ประเมินการสูญเสียดินจากแบบจำลอง Morgan, Morgan and Finney 1984
                   (MMF model) ให้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้

                              2.1 ปริมาณตะกอนดินในถังตกตะกอน

                              จากการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากถังดักตะกอนดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย จำนวน 3

                   จุด ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันตามระดับความลาดชันของพื้นที่แบ่งเป็นแปลงป่าเบญจพรรณ

                   (ECM01) ความลาดชัน 30-35 เปอร์เซ็นต์ แปลงข้าวไร่ (ECM02) ความลาดชัน 20-25 เปอร์เซ็นต์ และแปลง
                   พืชผัก (ECM03) ความลาดชัน 9-10 เปอร์เซ็นต์ ในปี2559 จะพบว่าแปลงพืชผัก (ECM03) มีปริมาณตะกอน

                   ดินสูงสุดคิดเป็น 249 กิโลกรัมต่อไร่ ปี2560 จะพบว่าแปลงข้าวไร่ (ECM02) มีปริมาณตะกอนดินสูงสุดคิด
                   เป็น 116 กิโลกรัมต่อไร่ ปี2561 พบว่าแปลงป่าเบญจพรรณ (ECM01) มีปริมาณตะกอนดินสูงสุดคิดเป็น

                   19.09 กิโลกรัมต่อไร่ ปี2562 พบว่าแปลงป่า เบญจพรรณ (ECM01) มีปริมาณตะกอนดินสูงสุดคิดเป็น 414

                   กิโลกรัมต่อไร่ และในปี2563 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษาจะพบว่าแปลงป่าเบญจพรรณ (ECM01) มี
                   ปริมาณตะกอนดินสูงสุดคิดเป็น 68.54 กิโลกรัมต่อไร่
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34