Page 61 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          51



                                                     สรุปผลและข้อเสนอแนะ

                          การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพด
                   เลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการจัดการดินและการให้น้ าที่ระยะเวลาต่างกัน ในชุดดินคล้ายชุดดินภูผา
                   ม่านที่มีจุดประสีเทา (Ppm-gm) ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2563 วางแผนการทดลองแบบ split-plot ประกอบด้วย
                   main plot คือ การคลุมดิน ประกอบด้วย M1: ไม่คลุมดิน และ M2: คลุมดินด้วยฟางข้าวและใส่ปุ๋ยคอก และ sub-
                   plot คือ การให้น้ า ประกอบด้วย S1: ไม่ให้น้ า S2: ให้น้ าทุกวัน S3: ให้น้ าทุก 2 วัน S4: ให้น้ าทุก 3 วัน และ S5: ให้
                   น้ าทุก 4 วัน จ านวน 3 ซ้ า สรุปผลการทดลองได้ดังนี้
                          1. สมบัติทางกายภาพบางประการของดิน ผลการทดลองพบว่าวิธีการคลุมดินมีผลท าให้ความหนาแน่นรวม

                   ของดินต่ ากว่าวิธีการที่ไม่คลุมดินและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 3 และวิธีการคลุมดินมีผลท า
                   ให้ความชื้นในดินสูงกว่าวิธีการที่ไม่คลุมดิน ส่วนวิธีการให้น้ าที่ระยะเวลาต่างกันพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติทั้งค่า
                   ความหนาแน่นรวมของดินและความชื้นในดิน
                          2. สมบัติทางเคมีบางประการของดิน ผลการทดลองพบว่าวิธีการคลุมดินมีผลท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                   ของดิน (pH) มีค่าสูงขึ้นและมีค่าสูงกว่าวิธีการที่ไม่คลุมดินและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 3
                   ส่วนวิธีการให้น้ าที่ระยะเวลาต่างกันพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) ใน 2 ปีแรก
                   พบว่าวิธีการคลุมดินมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ ากว่าวิธีการที่ไม่คลุมดิน แต่ในปีที่ 3 วิธีการคลุมดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ)
                   มีค่าสูงขึ้นและมีค่าสูงกว่าวิธีการที่ไม่คลุมดินและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ  ส่วนวิธีการให้น้ าที่

                   ระยะเวลาต่างกันพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส าหรับปริมาณฟอสฟอรัสในดิน (P) ในปีที่ 1 พบว่าวิธีการคลุมดินมี
                   ปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ ากว่าวิธีการที่ไม่คลุมดิน แต่ในปีที่ 2 และ 3 พบว่าวิธีการคลุมดินมีปริมาณฟอรัสในดินสูง
                   กว่าวิธีการที่ไม่คลุมดินแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนวิธีการให้น้ าที่ระยะเวลาต่างกันพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี
                   นัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 2 โดยวิธีการที่ไม่ให้น้ ามีค่าสูงสุด ส่วนปริมาณโพแทสเซียมในดิน (K) พบว่าวิธีการคลุมดินมี
                   ผลท าให้มีค่าสูงขึ้นและมีค่าสูงกว่าวิธีการที่ไม่คลุมดินและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 3 ส่วน
                   วิธีการให้น้ าที่ระยะเวลาต่างกันพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 1 โดยวิธีการที่ให้น้ าทุกวันมี
                   ค่าสูงสุด
                          3. องค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลการทดลองพบว่าการคลุมดินและการให้น้ าที่ระยะเวลา
                   ต่างกันไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าไม่มีผลต่อความกว้างฝัก ความยาวฝัก จ านวนแถวต่อฝัก จ านวนเมล็ดต่อแถว

                   และน้ าหนัก 100 เมล็ด ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                          4. ผลการศึกษาปริมาณความชื้นในดินและความถี่ของการให้น้ า พบว่าปริมาณผลผลิตมีความแตกต่างกัน
                   อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 2 โดยวิธีการที่ให้น้ าทุกวัน วิธีการที่ให้น้ าทุก 2 วัน และวิธีการที่ให้น้ าทุก 4 วัน มี
                   ปริมาณผลผลิตสูงสุด และเมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะเห็นว่าวิธีการไม่คลุมดินและวิธีการที่ให้น้ าทุก 4
                   วัน มีต้นทุนต่ ากว่าวิธีการอื่น จึงให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่า เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่ใช้น้ าตลอด
                   ฤดูปลูกประมาณ 500  -  600 มิลลิเมตร ประกอบกับในพื้นที่ทดลองได้รับอิทธิพลจากน้ าฝนที่ตกลงมาในช่วงการ
                   เจริญเติบโตของต้นข้าวโพดและดินสามารถรักษาความชื้นในดินได้ดี ดังนั้นวิธีการไม่คลุมดินและวิธีการที่ให้น้ าทุก 4
                   วัน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และให้ผลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง

                   ส าหรับพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีปริมาณน้ าฝนเพียงพอ
                          5.  ผลการศึกษาวัสดุคลุมดินด้วยฟางข้าวและใส่ปุ๋ยคอก พบว่าผลการวิเคราะห์ความชื้นในดินของวิธีการ
                   คลุมดินและวิธีการไม่คลุมดินให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่จะเห็นว่าวิธีการคลุมดินมีความชื้นสูงกว่าวิธีการไม่คลุม
                   ดิน ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถหาวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าวหรือเศษวัสดุต้นข้าวโพดจากพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง
                   โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิต วิธีการคลุมดินจะเป็นวิธีที่ช่วยรักษาความชื้นในดินและช่วยยืดระยะเวลาการ
                   ให้น้ าต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยหรือฝนทิ้งช่วง
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66