Page 3 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          (2)


                   ทะเบียนวิจัยเลขที่  62-63-09-04-010903-010-106-02-11
                   ชื่อโครงการวิจัย    การจัดท าค่ามาตรฐานของมหธาตุส าหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน

                                     Standard values of macronutrient elements for soil and plant analysis in

                                     Turmeric (Curcuma longa L.)
                   กลุ่มชุดดิน       -

                   สถานที่ด าเนินการ  1) พื้นที่ปลูกขมิ้นชันของจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และกาญจนบุรี
                                        รายละเอียดตามภาคผนวกที่ 1

                                     2) ห้องปฏิบัติการส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน

                   ผู้ร่วมด าเนินการ   นายสุทธิ์เดชา ขุนทอง (Mr. Sutdacha Khunthong)
                                     นางชนินาถ การะภักดี (Mrs. Chaninat Karapakdee)


                                                            บทคัดย่อ


                          ขมิ้นชันเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา สามารถน ามาใช้ประโยชน์ในวงการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน

                   การปลูกขมิ้นชัน ยังไม่มีรายงานค่ามาตรฐานมหธาตุส าหรับใช้แปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในการให้ค าแนะน า
                   ปุ๋ย ซึ่งเป็นกลุ่มธาตุอาหารที่พืชต้องการสูง จึงศึกษาการสร้างค่ามาตรฐานของมหธาตุในขมิ้นชัน โดยการ
                   วิเคราะห์สถานะธาตุอาหารในดิน ใบ และเหง้าขมิ้นชันจากแปลงของเกษตรกร จ านวน 105 แปลง
                   ครอบคลุมพื้นที่ ทั้งบริเวณที่ให้ผลผลิตสูง ปานกลาง และผลผลิตต่ า พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลผลผลิต และ

                   วิเคราะห์สารเคอร์คูมินอยด์จากเหง้าในแต่ละแปลง น าข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นธาตุ
                   อาหารกับผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ จากนั้นก าหนดค่ามาตรฐานธาตุอาหารโดยใช้วิธีเส้นขอบเขต พบว่า ดินที่

                   ให้ผลผลิตเคอร์คูมินอยด์จากเหง้าขมิ้นชันสูง ควรมีอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว อยู่ในช่วง
                   24.26-31.13, 27.60-35.11 และ 19.70-31.63 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ พีเอช และอินทรียวัตถุ ควรอยู่ในช่วง
                   5.8-6.4 และ 31.54-39.43 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม

                   แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถันที่สกัดได้ ควรอยู่ในช่วง 16.30-29.78, 167-247, 1,315-1,842,
                   169-228 และ 4.30-7.69 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ นอกจากนี้ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของไนโตรเจน
                   ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน ในใบขมิ้นชัน ควรอยู่ในช่วง 23.07-26.16,

                   2.59-3.08, 31.35-36.59, 9.82-11.34, 2.17-2.59 และ 0.48-0.72 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ
                   อย่างไรก็ตาม แนวทางประเมินการใช้ปุ๋ยควรพิจารณาจากสถานะธาตุอาหารในดินและพืชควบคู่กัน

                   ค าส าคัญ: ธาตุอาหารพืช, ค าแนะน าปุ๋ย, เคอร์คูมินอยด์, สมดุลธาตุอาหาร, เส้นขอบเขต
   1   2   3   4   5   6   7   8