Page 31 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       29


                                                       สรุปและข้อเสนอแนะ


                              การศึกษาผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกใน

                       ดินด่าง ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือน มีนาคม 2564 ณ บ้านเขาดิน หมู่ 4
                       ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อ

                       ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง จากการศึกษาทดลองสามารถสรุปผลได้ ดังนี้


                       1.สมบัติทางเคมีของดิน

                              จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ดินหลังการทดลองทุกตำรับการทดลองมีค่าความเป็นกรด
                       เป็นด่างลดลงจากด่างปานกลางเป็นด่างเล็กน้อย  เช่นเดียวกับปริมาณอินทรียวัตถุลดลงทุกตำรับการ

                       ทดลองอยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ สวนทางกับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการ

                       ตกค้างของปุ๋ยเคมี


                       2.ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อย

                              จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ผลผลิตอ้อยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
                       โดย ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง

                       อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตอ้อยมากสุดทุกปีการทดลอง เมื่อนำผลผลิตอ้อยทั้ง 3 ปี มา

                       รวมกันเท่ากับ 54,733 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเฉลี่ยเป็น 17,104 กิโลกรัมต่อไร่
                              ความยาวลำอ้อย จากการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และทำการวัดความยาวลำอ้อยในวัน

                       เก็บเกี่ยว พบว่า  ปีที่1 และปีที่ 2  ไม่มีความแตกต่างทางทางสถิติ แต่ในปีที่ 3 มีความแตกต่างกัน
                       อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 2 วิธีเกษตรกรมีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยมากที่สุด

                       เท่ากับ 205 เซนติเมตร

                              ความหวานอ้อย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยในปีที่ 1 ตำรับการ
                       ทดลองที่ 2 วิธีการของเกษตรกร ตำรับการทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ดินโดย

                       ใช้ชุดตรวจสอบดิน ldd test kit ร่วมกับ การใส่กำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ และตำรับการ
                       ทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรร่วมกับการใส่กำมะถันผงอัตรา 150

                       กิโลกรัมต่อไร่ ให้ค่าความหวานสูงสุดเท่ากัน 15 องศาบริกซ์ ปีที่ 2 ตำรับการทดลองที่ 2 และ 4 ให้

                       ค่าความหวานสูงสุดเท่ากัน 22 องศาบริกซ์ ส่วนปีที่ 3 ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่า
                       วิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ค่าความหวานสูงสุด

                       เท่ากัน 21 องศาบริกซ์
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36