Page 29 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               อัตราส่วน 1 : 2 : 1 สำหรับ ตำรับควบคุม ให้ค่าความกว้างและยาวของฝักข้าวโพดหวานปอกเปลือก
               (เซนติเมตร) ค่าน้ำหนักของฝักข้าวโพดหวาน (กรัม) ต่ำสุด ทั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่า ปูนมาร์ล กรดซิลิคอน

               ถ่านชีวภาพดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดจัดนั้นมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางภายภาพ เคมี

               หรือชีวะ อย่างชัดเจน นอกจากมีผลต่อคุณภาพดินแล้วยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและเกิดมลภาวะ
               ของน้ำ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จะไม่สามารถนำไปใช้ในการอุปโภค หรือใน

               การเกษตรได้ นอกจากนั้นแล้วในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด มีปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมา เกษตรกรที่ทำ
               การเกษตรบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จำเป็นต้องเลือกชนิดของพืชที่ปลูกให้เหมาะสม โดยทั่วไปนั้นการปลูกพืชจะ

               ได้รับผลผลิตต่ำ ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนสูงกว่าเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่อื่นๆ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ

               การเกษตรในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดมีข้อจำกัด ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอาจกล่าวได้ว่าต่ำมากหรือไม่มีเลย
               แนวทางหนึ่งที่ใช้แก้ไขปัญหากันทั่วไป คือ การใช้ปูน

                         เนื่องจากปูนมีฤทธิ์เป็นด่าง จึงช่วยลดสภาพความเป็นกรดในดินได้ดี อัตราของปูนที่ใช้ควรใช้ปริมาณ

               ตามความต้องการปูนของดิน ปูนช่วยยกระดับพีเอช ของดินให้สูงขึ้น ลดความรุนแรงของกรด และลดผลเสีย
               โดยทางอ้อมอันเนื่องมาจากความเป็นกรดนั้น ปูนช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพวกไนโตรเจน

               ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม ซิลิกา โมลิบดินัม เป็นต้น และปูฯปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินบาง

               ชนิดให้ดีขึ้น ทำให้ดินเหนียวร่วนขึ้น ทำให้การถ่ายเทน้ำออกไปจากช่องอากาศ และการอุ้มน้ำในช่องว่างขนาด
               เล็กมีมากขึ้น เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช และปูนช่วยส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่เป็น

               ประโยชน์ต่อพืช เช่น จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติ ที่ระดับพีเอชเป็น
               กรดอ่อนหรือเป็นกลาง

                            ปุ๋ยซิลิกอนเป็นธาตุเสริมประโยชน์ (Beneficial mineral element) แก่พืชหลายชนิด ซิลิกอนจะ

               อยู่ในดินในรูปของผลึกและ  amorphous  ของซิลิก้ารูปของซิลิเกต  สำหรับการใช้กรดซิลิคอนในการปรับปรุง

               พื้นที่เปรี้ยวจัดยังมีส่วนช่วยลดความเป็นพิษของเหล็ก   อะลูมินัมและแมงกานิส   และช่วยเพิ่มความเป็น

               ประโยชน์ของฟอสฟอรัส  (บรรเจิดลักษณ์,    2555)    รัตนชาติ  (2544)  และประมุข  (2546)  ศึกษาผลของ

               ซิลิกอนและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิต การดึงดูดธาตุอาหารของข้าวและข้าวโพดที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัด ชุดดินรังสิตกรด

               จัด  พบว่าการใส่ซิลิกอนจะส่งเสริมให้ข้าวและข้าวโพดตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี  NPK  ได้มากขึ้น  Takahashi

               (1968)  รายงานว่าในประทศญี่ปุ่นมีการใช้ปุ๋ยซิลิกอนในรูปของแคลเซียมซิลิเกตในนาข้าวอัตรา  240-250

               กิโลกรัมต่อไร่  มีประโยชน์ต่อข้าวคือ  เมื่อใส่สารประกอบซิลิเกตลงไปในดินที่มีการตรึงฟอสเฟตสูงจะทำให้ลด

               ปริมาณการตรึงฟอสเฟตโดยซิลิเกตเข้าไปแทนที่ฟอสเฟตที่ถูกตรึงอยู่ที่พื้นผิวของแร่ดินเหนียว  ออกไซด์ของ

               เหล็กและอะลูมินัม  ซิลิก้าจะไปสะสมอยู่ที่ผิวของใบและลำต้น  ช่วยให้ข้าวตั้งชัน  สังเคราะห์แสงได้ดี  ลำต้น

               แข็งแรงไม่ล้มง่าย  ทำให้ต้านทานต่อโรคและแมลง  ป้องกันเชื้อราเข้าในใบ  เนื่องจากความแข็งแรงของผนัง

               เซลล์ที่มีซิลิกอนสูงและมีแมลงกัดกินใบน้อยลง  ซิลิกอนจะช่วยลดความเป็นพิษของแมงกานีส  เหล็กและ

               อะลูมินัม โดยช่วยให้ข้าวทนต่อความเป็นพิษได้มากขึ้น รากข้าวมี oxidizing power มากขึ้น ช่วยลดการสะสม

               แมงกานีสและเหล็กในพืชด้วยการลดการคายน้ำ  ทำให้ดูดแมงกานีสและเหล็กลดลง  นอกจากนี้ยังลดการคาย



                                                           29
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34