Page 59 - ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปูนโดโลไมท์ต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันในพื้น ที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง Effect of using organic fertilizer together with dolomite for growth on oil plam in acid sulfate soil at Phattalung province
P. 59

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                 จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน ปริมาณธาตุอาหารในใบ และการ
                      เจริญเติบโตของปาลมน้ํามันกอนและหลังการทดลอง พบวา ตํารับที่มีการใสปูนและไมใสปูน ทําใหคาปฏิกิริยา
                      ดินมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอย ซึ่งยังอยูในชวงระดับที่เปนกรดรุนแรงเหมือนกัน ทําใหปาลมน้ํามันสามารถ
                      เจริญเติบโตไดไมแตกตางกัน ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดพัทลุงมีฝนตกชุก ในป 2561-2563 มีปริมาณน้ําฝนรวมใน
                      รอบปสูง เทากับ 2,004.0, 1702.9 และ 1966.2 มิลลิเมตร ตามลําดับ (ตารางภาคผนวกที่ 1-3) อาจทําใหปูน

                      โดโลไมทที่ใสลงไปในดินบางสวน เกิดการชะลางไปกับน้ําฝน สงผลใหคาปฏิกิริยาดินในตํารับที่มีการใสปูน
                      เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กนอย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาปริมาณเหล็กที่สกัดได และปริมาณอะลูมินั่มที่
                      แลกเปลี่ยนได พบวาอยูในระดับสูง และปานกลาง ตามลําดับ ซึ่งจงรักษ (2530) กลาวไววา ปริมาณเหล็กและ
                      ปริมาณอะลูมินั่มที่มีปริมาณสูง อาจทําใหพืชชะงักการเจริญเติบโต แตจากภาพที่ 9 ปริมาณอะลูมินั่มที่มี
                      แนวโนมลดลงเพียงเล็กนอยในทุกตํารับการทดลอง อาจเกิดจากปริมาณน้ําฝนที่ชะลางธาตุอาหารดังกลาว
                      ออกไปดวย และอาจจะอยูในระดับที่ไมเปนพิษกับปาลมน้ํามัน เพราะเมื่อพิจารณาปริมาณธาตุอาหารที่เปน
                      ประโยชนตอพืชในใบปาลมน้ํามันของทุกตํารับการทดลอง พบวา ปาลมน้ํามันมีปริมาณธาตุอาหารในใบสูงกวา
                      คาวิกฤติ กลาวคือ ปริมาณธาตุอาหารมีคาอยูในชวงที่เหมาะสมตอการเจริญเติบโต จึงทําใหปาลมน้ํามันมีการ


                      เจริญเติบโตที่ใกลเคียงกัน
                                 5.  ปริมาณและคุณภาพผลผลิตปาลมน้ํามัน
                                 จากการศึกษาผลการใชปุยอินทรียรวมกับปูนโดโลไมทตอการเจริญเติบโตของปาลมน้ํามันในพื้น
                      ที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง ในปที่ 3 ของการทดลอง พบวา ปาลมน้ํามันเริ่มใหผลผลิต ชวงเดือนมีนาคม
                      2563  จึงไดทําการเก็บขอมูลผลผลิตรวมดวย เพื่อใชในการวิเคราะหขอมูลและสรุปผลการทดลอง จากการ
                      ทดลองมีการเก็บขอมูลจํานวนทะลายตอตนตอป น้ําหนักสดตอทะลาย และผลผลิตตอไรตอป ของปาลมน้ํามัน
                      ที่เริ่มใหผลผลิตในปที่ 1 ดังนี้
                                    5.1 จํานวนทะลายตอตนตอป  หลังดําเนินการทดลองปที่ 2 ปาลมน้ํามันเริ่มออกดอก และ

                      สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในปที่ 3 ของการศึกษา จึงไดเก็บขอมูลผลผลิตรวมดวย พบวา ทุกตํารับการทดลองมี
                      จํานวนทะลายตอตนตอปแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ กลาวคือ ตํารับที่ 5 การใสโดโลไมทตามคา
                      ความตองการปูน (LR) รวมกับการใสปุยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร และใสปุย
                      อินทรียที่ขยายเชื้อดวยจุลินทรียซ ุปเปอร พด.9 ใหจํานวนทะลายตอตนตอปสูงที่สุด มีคาเฉลี่ยเทากับ 11.00
                      ทะลาย รองลงมาคือ ตํารับที่ 2 การใสปุยเคมีตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร และตํารับที่ 8 การใสโดโล
                      ไมทตามคาความตองการปูน (LR) รวมกับการใสมูลไกแกลบ น้ําหมักชีวภาพ พด.2 และปุยชีวภาพ พด.12
                      ปาลมน้ํามันใหจํานวนทะลายตอตนตอปเฉลี่ยเทากับ 10.78 และ 10.00 ทะลาย ตามลําดับ สวนตํารับที่ 1 ที่
                      การใสปุยตามวิธีเกษตรกร ปาลมน้ํามันใหจํานวนทะลายตอตนตอปต่ําที่สุด มีคาเฉลี่ยเทากับ 5.89 ทะลาย
                      (ตารางที่ 28)

                                    5.2 น้ําหนักสดตอทะลาย หลังดําเนินการทดลองปที่ 2 ปาลมน้ํามันเริ่มออกดอก และ
                      สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในปที่ 3 ของการศึกษา จึงไดเก็บขอมูลผลผลิตรวมดวย พบวา ทุกตํารับการทดลองมี
                      น้ําหนักสดตอทะลายแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ กลาวคือ ตํารับที่ 5 การใสโดโลไมทตามคาความ
                      ตองการปูน (LR) รวมกับการใสปุยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร และใสปุยอินทรียที่
                      ขยายเชื้อดวยจุลินทรียซ ุปเปอร พด.9 ปาลมน้ํามันมีน้ําหนักสดของทะลายสูงที่สุด มีคาเฉลี่ยเทากับ 5.67
                      กิโลกรัมตอทะลาย สวนตํารับการทดลองอื่นๆ มีคาน้ําหนักสดตอทะลายเฉลี่ยอยูในชวง 4.20-5.25 กิโลกรัมตอ

                      ทะลาย ซึ่งตํารับที่ 9 การใสโดโลไมทตามคาความตองการปูน (LR) รวมกับการใสมูลไกแกลบ น้ําหมักชีวภาพ
                      พด.2 และปุยอินทรียที่ขยายเชื้อดวยจุลินทรียซ ุปเปอร พด.9 ปาลมน้ํามันมีน้ําหนักสดของทะลายต่ําที่สุด มี
                      คาเฉลี่ยเทากับ 4.20 กิโลกรัมตอทะลาย (ตารางที่ 28)




                                                                                                         50
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64