Page 42 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 42
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4-2
จังหวัด 3 ลําดับแรกที่พื้นที่มีความเหมาะสมปานกลางในการปลูกขมิ้นชัน ได้แก่ จังหวัด
นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และชัยภูมิ คิดเป็นร้อยละ 7.29 4.90 และ 4.25 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
ปานกลางทั้งประเทศ ตามลําดับ
3) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย
รวมทั้งสิ้น 20,975,475 ไร่ หรือร้อยละ 19.95 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ แบ่งเป็น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ 9,649,893 ไร่ หรือร้อยละ 46.01 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อยทั้งประเทศ ภาคเหนือมีพื้นที่ 4,785,413 ไร่ หรือร้อยละ 22.81 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อยทั้งประเทศ ภาคใต้มีพื้นที่ 2,745,173 ไร่ หรือร้อยละ 13.09 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อยทั้งประเทศ ภาคตะวันออกมีพื้นที่ 2,310,399 ไร่ หรือร้อยละ 11.01 ของพื้นที่ที่มีความ
เหมาะสมเล็กน้อยทั้งประเทศ และภาคกลางมีพื้นที่ 1,484,597 ไร่ หรือร้อยละ 7.08 ของพื้นที่ที่มีความ
เหมาะสมเล็กน้อยทั้งประเทศ
จังหวัด 3 ลําดับแรกที่พื้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยในการปลูกขมิ้นชัน ได้แก่ จังหวัด
อุดรธานี อุบลราชธานี และบุรีรัมย์ คิดเป็นร้อยละ 8.25 5.93 และ 5.77 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อยทั้งประเทศ ตามลําดับ
ตารางที่ 4-1 พื้นที่ปลูกขมิ้นชันจําแนกตามระดับความเหมาะสมรายภาค
ภาค เหมาะสมสูง (S1) เหมาะสมปานกลาง (S2) เหมาะสมเล็กน้อย (S3) พื้นที่รวม
พื้นที่ ไร่ ร้อยละ ไร่ ร้อยละ ไร่ ร้อยละ ไร่ ร้อยละ
ภาคเหนือ 4,142,673 25.27 9,355,088 13.81 4,785,413 22.81 18,283,174 17.40
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,808,060 29.34 31,762,974 46.89 9,649,893 46.01 46,220,927 43.98
ภาคกลาง 767,908 4.68 10,313,186 15.23 1,484,597 7.08 12,565,691 11.96
ภาคตะวันออก 3,800,464 23.18 3,528,793 5.21 2,310,399 11.01 9,639,656 9.17
ภาคใต้ 2,872,937 17.53 12,772,556 18.86 2,745,173 13.09 18,390,666 17.50
รวมทั้งประเทศ 16,392,042 15.60 67,732,597 64.45 20,975,475 19.96 105,100,114 100.00
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน