Page 88 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 88

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                          62





                     ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่ส าคัญที่ส่งผลให้ทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรม เนื่องจาก

               ท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน และสูญเสียธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของ

               ดินลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินในการปลูกพืชอย่างเข้มข้นในรอบปี รวมทั้งในพื้นที่ที่มี
               การใช้เครื่องจักรกลในการพรวนดิน เป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้สมบัติทางกายภาพของดินโดยเฉพาะ

               โครงสร้างดินถูกท าลาย ยิ่งส่งเสริมท าให้เกิดการพังทลายของดินในพื้นที่ ผลจากการชะล้างพังทลายของ

               ดินจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของดินและพื้นที่โดยรอบ และท า
               ให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ลดลง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ลดลงและเกิดการตื้นเขินของแม่น้ าล าคลอง

               จากมีการสะสมของตะกอนดิน ท าให้ศักยภาพในการเก็บกักน้ าของแหล่งน้ าต่ าลง ปัญหาเหล่านี้จะส่งผล
               กระทบต่อการเพาะปลูกในฤดูการถัดไป ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันการชะล้าง

               พังทลายของดินเพื่อรักษาทรัพยากรที่ดินให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน
                     การชะล้างพังทลายของดิน ในแต่ละพื้นที่จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะ

               ของดินเองและการเขตกรรม โดยปกติแล้วการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยนั้นจะเกิดขึ้นโดยฝน

               เป็นปัจจัยหลักที่ส าคัญ ลักษณะของดิน สภาพภูมิประเทศ ระบบการปลูกพืช ถ้าเอื้ออ านวยต่อการชะล้าง
               ก็จะท าให้การชะล้างมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

                     จากการประเมินการสูญเสียดินในพื้นที่โครงการ ฯ ลุ่มน้ าห้วยศาลจอด พบว่า มีระดับความรุนแรง

               น้อย ค่าการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 2 ตัน/ไร่/ปี (ภาพที่ 3-12)
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93