Page 143 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 143

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             119


                   ภาคผนวกที่ 2 : ภาพตัวอย่างมาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าของกรมพัฒนาที่ดิน


                   มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

                        การอนุรักษ์ดินและน้ า (soil and water conservation) หมายถึง การใช้ทรัพยากรดินและน้ าอย่าง

                   เหมาะสมด้วยวิธีชาญฉลาด คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความยั่งยืน การอนุรักษ์ดินและน้ าจะลดการ
                   ชะ ล้างพังทลายของดิน ได้ด้วยการเลือกใช้ “มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า” (soil and water

                   conservation measure) ซึ่งเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเหมาะสม เพื่อใช้ป้องกันและ
                   รักษาดินไม่ให้ถูกชะล้างพังทลายทั้งบนพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ าจนไปถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เพื่อ

                   ป้องกันดินไม่ให้หลุดออกโดยการ ตกกระทบของเม็ดฝนและลม เพื่อลดปริมาณน้ าไหลบ่าเพื่อควบคุมหรือ

                   ชะลอความเร็วของน้ าไหลบ่า และเพิ่มอัตราการไหลซึมของน้ าลงในดิน มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าจึงผัน
                   แปรไปตามความลาดชัน ตั้งแต่ลักษณะพื้นที่ราบ พื้นที่ดอน และพื้นที่สูง ซึ่งสามารถแบ่งออกตามลักษณะ

                   ของมาตรการได้เป็น มาตรการวิธีกล (mechanical measures) และมาตรการวิธีพืช (vegetative

                   measures) การเลือกใช้ มาตรการใดควรพิจารณาลักษณะดิน ภูมิประเทศ ปริมาณน้ าฝน ตลอดจนการใช้
                   ประโยชน์ที่ดิน โดยเลือกวิธีการผสมผสานมาตรการให้เหมาะสมเพื่อให้การท าการเกษตรเกิดความยั่งยืน

                   โดยใช้มาตรการดังนี้

                        มาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน แบ่งตามระดับความรุนแรง
                   ของการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ที่มีระดับปานกลาง ก าหนดมาตรการในการไถพรวนและปลูกพืช

                   ตามแนวระดับ การยกร่องตามแนวระดับ แนวหญ้าแฝก ทางล าเลียง และบ่อดักตะกอน ส่วนระดับรุนแรง
                   น้อย มีมาตรการเพิ่มเติมตามลักษณะภูมิประเทศ คือ การไถพรวนดิน การปรับระดับ และปรับรูปแปลงนา

                        มาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนใหญ่มีปัญหาดินเค็ม ดินปนทราย

                   ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ก าหนดมาตรการโดยเน้นการเพิ่มอินทรียวัตถุด้วยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืช
                   ปุ๋ยสด การใช้ปุ๋ยคอก น้ าหมักและปุ๋ยหมัก

                        มาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อพัฒนาแหล่งน้ า ในพื้นที่ทางการเกษตรซึ่งมีสภาพปัญหาการ
                   ขาดแคลนน้ า จึงก าหนดมาตรการตามสภาพปัญหาและสอดคล้องตามความต้องการของชุมชน คือ

                   อ่างเก็บน้ า สระเก็บน้ า ฝายทดน้ า การปรับปรุงล าน้ า คลองส่งน้ า ระบบส่งน้ าด้วยท่อ และระบบให้น้ า

                   แบบ micro irrigation
                        ส าหรับรูปแบบกิจกรรมงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาในพื้นที่

                   รับผิดชอบส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 มี ดังนี้

                        การปรับโครงสร้างพื้นฐาน เป็นวิธีจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐานของ
                   การใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งก็มีอยู่หลายรูปแบบ แต่ในพื้นที่ของ สพข.3 มักจะใช้รูปแบบ

                   การปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1, ลักษณะที่ 2, ลักษณะที่ 3, บ่อดักตะกอนดิน และทางล าเลียงในไร่นา
                   ซึ่งมีรายละเอียดวิธีด าเนินการดังนี้
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148