Page 28 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง จังหวัดน่าน
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
(1) การปฏิบัติงานก่อนออกสนาม
- การแปลข้อมูลในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการ
ถนน เส้นทางน้ำ การใช้ที่ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน และการชะล้างพังทลายของดิน
- การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลดิน ข้อมูลทางธรณีวิทยา ข้อมูลสภาพภูมิ
ประเทศ ร่วมกับการแปลข้อมูลในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เพื่อให้ทราบถึงสภาพพื้นที่และวิเคราะห์
พื้นที่ เพื่ออนุมานลักษณะและสมบัติของดินเบื้องต้นในพื้นที่ศึกษา
- การเขียนขอบเขตดินเบื้องต้น โดยพิจารณาข้อมูลพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้าง
พังทลายของดินและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบการกำหนดจุดเจาะสำรวจดินบนแผนที่ภาพถ่ายออร์
โธสีเชิงเลข
(2) การปฏิบัติงานในภาคสนาม
- การเจาะสำรวจดินตามจุดที่กำหนดไว้ในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข หรือใน
บริเวณพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยใช้สว่านเจาะดินลึก 200 เซนติเมตร หรือถึงชั้น
เชื่อมแข็งหรือแนวสัมผัสชั้นหินพื้น วางเรียงกันตามความลึก เพื่อตรวจศึกษาสมบัติทางเคมีและทาง
กายภาพของดินทุกจุดด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม
- การบันทึกสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ศึกษา ได้แก่ วัตถุต้นกำเนิดดิน ภูมิสัณฐาน
ความลาดชัน การชะล้างพังทลายของดิน การระบายน้ำของดิน ความสามารถให้น้ำซึมผ่านของดิน ระดับน้ำใต้
ดิน สภาพน้ำท่วมขัง พืชพรรณและการใช้ที่ดิน
- การศึกษาลักษณะสมบัติดินเพื่อใช้ในการจำแนกดิน เช่น ความหนาของชั้นดิน เนื้อ
ดิน สีดิน โครงสร้างของดิน การจัดเรียงตัวของชั้นดิน การยึดตัวของอนุภาคดิน การเคลื่อนย้ายของอนุภาค
ดินเหนียว ปริมาณการกระจายของรากพืช ค่าปฏิกิริยาดิน ชนิดของชิ้นส่วนหยาบในดิน หรือวัตถุต่างๆ ที่
พบในชั้นดิน เช่น ก้อนกรวด ลูกรังและเศษหิน เป็นต้น
- การจำแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Survey Staff, 2014) ในระดับ
ประเภทของชุดดินและดินคล้าย (phases of soil series or soil variants) เขียนหน่วยแผนที่ดินลงใน
ภาพถ่ายออร์โธสี พร้อมทั้งปรับแก้ไขขอบเขตของดินในภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขให้สอดคล้องกับสภาพ
พื้นที่จริงในสนาม
- การบันทึกลักษณะดิน สภาพพื้นที่ และเก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เป็นตัวแทนของ
หน่วยแผนที่ดิน สำหรับนำไปวิเคราะห์หาสมบัติกายภาพและทางเคมี เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
(3) การจัดทำแผนที่ดิน
การจัดทำแผนที่ดิน และสรุปหน่วยแผนที่ทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง ในมาตราส่วน
1 : 25,000
2) ข้อมูลทรัพยากรดินปัญหา การจัดทำข้อมูลและแผนที่ดินปัญหาหรือสภาพปัญหาดิน
ทางการเกษตร มาตราส่วน 1 : 25,000 ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำแหงตามขั้นตอน ดังนี้
แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าห้วยน ้าแหง