Page 48 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
P. 48
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
พื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดอุทัยธานีได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่นพัดผ่านมาจากทะเลจีนใต้
เข้ามาเป็นครั้งคราวส่งผลท าให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ได้แก่ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดผ่านทะเลและมหาสมุทรน าไอน้ าขึ้นมาท าให้มีอากาศ
ชุ่มชื้นและฝนตกชุกส่วนฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลม
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความแห้งแล้งและความหนาวเย็นลงมาส าหรับฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือน
มีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งมีอากาศร้อนและอบอ้าว
จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยาจังหวัดอุทัยธานีที่มีข้อมูลสภาพภูมิอากาศเพียง 4 ปี
ด้วยเพิ่งมีการจัดตั้งสถานีตรวจวัดภูมิอากาศในพื้นที่ ซึ่งข้อมูลไม่เพียงพอส าหรับการวิเคราะห์ จึงได้ใช้
ข้อมูลสภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์แทน ซึ่งสามารถแบ่งรายละเอียดของลักษณะ ภูมิอากาศ
ในช่วงระยะเวลา 30 ปี คือ ปี พ.ศ. 2559-2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) อุณหภูมิ
จังหวัดอุทัยธานีมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 29.1 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดปี 28.4
องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน คือ 38.1 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิ ต่ าสุดเฉลี่ย
ตลอดปี 23.8 องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิต่ าสุดในเดือนธันวาคม คือ 19.6 องศาเซลเซียส
2) ปริมาณน้ าฝน
จังหวัดอุทัยธานีมีปริมาณน้ าฝนรวม 1,166.8 มิลลิเมตร โดยในเดือนกันยายน มีปริมาณน้ าฝน
เฉลี่ยมากที่สุด 236.5 มิลลิเมตร และเดือนมกราคม มีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 6 มิลลิเมตร
3) ปริมาณน้ าฝนใช้การได้ (Effective Rainfall : ER)
ปริมาณน้ าฝนใช้การได้ คือ ปริมาณน้ าฝนที่เหลืออยู่ในดินซึ่งพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้
ภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวด้วยน้ า แล้วไหลบ่าออกมากักเก็บในพื้นดิน จังหวัด
อุทัยธานี มีปริมาณน้ าฝนใช้การได้ 870.6 มิลลิเมตร ในเดือนกันยายนมีปริมาณน้ าฝนใช้การได้มากที่สุด
147.0 มิลลิเมตร และเดือนมกราคมมีปริมาณน้ าฝนใช้การได้น้อยที่สุด คือ 5.9 มิลลิเมตร
4) ความชื้นสัมพัทธ์และศักยภาพการคายระเหยน้ า
จังหวัดอุทัยธานีมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 73 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดใน
เดือนกันยายน 83 เปอร์เซ็นต์และต่ าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 64 เปอร์เซ็นต์
5) การวิเคราะห์ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมส าหรับปลูกพืช
การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูกพืช เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชโดยใช้ข้อมูล ปริมาณ
น้ าฝนเฉลี่ยและค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าของพืชรายเดือนเฉลี่ย (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งค านวณ
และพิจารณาจากระยะเวลาช่วงที่เส้นน้ าฝนอยู่เหนือเส้น 0.5 ETo ถือเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูก
พืช จากการวิเคราะห์ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมจากการปลูกพืชเศรษฐกิจจังหวัดอุทัยธานี สามารถสรุปได้ ดังนี้