Page 80 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          54



                     จากผลการศึกษา จะเห็นว่า แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับน้อย

               โดยมีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมเนื้อที่คิดเป็นร้อยละ 50.10 ของเนื้อที่
               ทั้งหมด โดยพบกระจายตัวอยู่ในต าบลหนองบอน ต าบลช้างทูน ต าบลบ่อพลอย อ าเภอบ่อไร่ ซึ่งพื้นที่

               ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันอยู่ในช่วง 0-12 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะสภาพพื้นที่เป็นแบบราบเรียบถึง

               ค่อนข้างราบเรียบ ลูกคลื่นลอดลาดเล็กน้อย และลูกคลื่นลอนลาดบางส่วน เมื่อพิจารณาประเภทการใช้
               ที่ดินเป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ และมีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการปลูกไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ ามันและ

               มะม่วงหิมพานต์ ซึ่งอาจพบปัญหาการชะล้างพังทลาย เนื่องจากปริมาณน้ าฝนที่สูงมากและพืชที่ปกคลุม
               ดินเป็นไม้ยืนต้นและไม้ผลเชิงเดี่ยว ควรได้รับการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตและ

               ผลผลิตของเกษตรกร อีกทั้งลดต้นทุนการผลิตที่สูญหายไปกับการชะล้างของผิวหน้าดินที่อาจเกิดขึ้นอย่าง

               ต่อเนื่องนอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศแบบเนินเขาแบบสูงชันและแบบสูงชันมากจะเกิด
               การชะล้างพังทลายของดินที่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยก่อให้เกิดปริมาณการสูญเสียดินมากกว่า 20

               ตันต่อไร่ต่อปีโดยพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ ามันและมะม่วงหิมพานต์
                     ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและหยุดการชะล้างพังทลายของดินอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความ

               รุนแรงของการสูญเสียดินปานกลางถึงรุนแรงมากที่สุดนั้น ควรมีมาตรการในการจัดระบบอนุรักษ์

               ดินและน้ าที่เหมาะสมส าหรับแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บางแห่งที่มีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม
               เนื่องจากพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ควรปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินให้เหมาะสม และวิธีการจัดการมีความเป็นไป

               ได้จริง วิธีการที่สะดวก และเสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องใช้แรงงานมาก และสอดคล้องตามความต้องการของ

               ชุมชน
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85