Page 60 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             41



                   สภาพปัญหาและข้อจำกัดของดิน

                       สภาพปัญหาและข้อจำกัดของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาว ส่วนใหญ่เป็นดินตื้นและเนื้อดินปนเศษหิน
                   ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและการชะล้างพังทลายของดิน เนื่องจากพื้นที่มี

                   ความลาดชันสูง โดยแยกเป็น 3 ประเภทหลัก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2561) ซึ่งพบการกระจายตัวในพื้นที่ต่าง ๆ

                   (ตารางที่ 3-4 ภาพที่ 3-5) โดยมีรายละเอียด พอสังเขป ดังนี้
                       1) ปัญหาดินตื้น

                          เป็นดินที่เป็นชั้นดินหนาประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย
                   และดินร่วนปนดินเหนียว ชั้นถัดไปเป็นชั้นดินมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียวและดิน

                   เหนียวที่มีปริมาณกรวด หรือเศษหินปะปนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือพบหินพื้น

                   ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน จากลักษณะของดินดังกล่าวถือเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต
                   ของพืชด้านการชอนไชของรากพืช ทำให้การเกาะยึดตัวของดินไม่ดี ยากแก่การไถพรวน เกิดการชะล้าง

                   พังทลายได้ง่าย สภาพปัญหานี้พบครอบคลุมเนื้อที่รวม 2,699 ไร่ หรือร้อยละ 1.82 ของเนื้อที่ทั้งหมด แบ่ง
                   ดินตื้นออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

                          (1) ปัญหาดินตื้นถึงเศษหิน ก้อนกรวดหรือเศษหิน ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตำบลนา

                   เหนือ มีเนื้อที่ 1,241 ไร่ หรือร้อยละ 0.84 ของเนื้อที่ทั้งหมด
                          (2) ปัญหาดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาใหญ่ มีเนื้อที่ 1,458 ไร่

                   หรือร้อยละ 0.98

                       2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
                          เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในประเทศไทยนั้น กรมพัฒนาที่ดิน

                   ใช้เกณฑ์การประเมินจากค่าวิเคราะห์ดิน 5 รายการ คือ ร้อยละปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่
                   เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และอัตราร้อยละความ

                   อิ่มตัวเบส ซึ่งแต่ละรายการจะมีเกณฑ์ประเมินเป็นค่าสูง ปานกลาง ต่ำ เนื่องจากสภาพทางธรรมชาติ โดย

                   ดินมีวัตถุต้นกำเนิดดินที่มีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติต่ำ ประกอบกับมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่อง
                   ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการปรับปรุงบำรุงดินเท่าที่ควร ทำให้ดินเสื่อมโทรม ความอุดมสมบูรณ์

                   ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตช้า ผลผลิตตกต่ำ คุณภาพไม่ดี สภาพปัญหานี้พบกระจาย
                   ครอบคลุมเนื้อที่รวม 102,078 ไร่ หรือร้อยละ 68.85 ของเนื้อที่ทั้งหมด และสามารถแบ่งตามสภาพพื้นที่ คือ

                          (1) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำที่เป็นดินลึกปานกลาง ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ตำบลเขา

                   ต่อ ตำบลนาเหนือ และตำบลเขาใหญ่ มีเนื้อที่ 100,865 ไร่ หรือร้อยละ 68.03 ของเนื้อที่ทั้งหมด
                          (2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำที่เป็นดินลึกมาก ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ตำบลเขาต่อ

                   และตำบลนาเหนือ มีเนื้อที่ 1,213 ไร่ หรือร้อยละ 0.82 ของเนื้อที่ทั้งหมด

                       3) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชันสูง
                          พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ส่วนใหญ่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าไม้ พื้นที่นี้ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้

                   ประโยชน์ด้านการเกษตร และมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทะลายของดินสูง ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่





                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65