Page 44 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          28





                  บทที่


                                   3








                     พื้นที่ลุ่มน้ำคลองลาว มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 237.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 148,272 ไร่ โดยตั้งอยู่พิกัด E

               460950 N 934475 และ E 482563 N 958690 อยู่ในลุ่มน้ำคลองลาว และเป็นส่วนหนึ่งของ 1 ลุ่มน้ำ
               สาขา ได้แก่ ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนที่ 2 (2505) โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน ตำบลเขาต่อ อำเภอ

               ปลายพระยา จังหวัดกระบี่และมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ลักษณะ
               ลุ่มน้ำวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อ (ภาพที่ 3-1) ดังนี้

                       ทิศเหนือ          ติดต่อ   ลุ่มน้ำสาขาคลองสก (2207) แม่น้ำตาปี (22)

                     ทิศใต้           ติดต่อ   ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนที่ 2 (2505) ทะเลอันดามัน
                       ทิศตะวันออก     ติดต่อ   ลุ่มน้ำสาขาคลองอีปัน (2205) และแม่น้ำตาปี (22)

                     ทิศตะวันตก      ติดต่อ   ลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนที่ 2 (2505) ทะเลอันดามัน





                    เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองลาว จังหวัดกระบี่ มีสภาพภูมิประเทศ ดังนี้ พื้นที่ต้นน้ำอยู่ทางทิศ
               ตะวันออก และทิศตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน้ำ มีลักษณะเป็นพื้นที่เขาสูงชัน อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง

               573-417 เมตร เริ่มจากแนวสันเขาพนม วางตัวเป็นแนวยาวทางขอบทิศตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน้ำ ทำให้

               เกิดลำคลองหลายสาย ได้แก่ คลองลังตัง คลองบางเท่าแม่ และคลองบางปริก และทิศตะวันออกบริเวณ
               แนวสันเขาหัวสิงห์ และเขาใหญ่ ได้แก่ คลองบางไทร ห้วยบางหินพุก และคลองบางทอม และมาบรรจบ

               กันที่หมู่ 2 บ้านนาเหนือ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก และออกสู่แม่น้ำมะรุ่ย ลักษณะความสูงและความ
               ลาดชันของพื้นที่ ลาดเทจากทิศตะวันตกและทิศตะวันออกไปยังตอนกลางของพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่กลางน้ำ

               ของลุ่มน้ำ คลองลาว มีลักษณะพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด สลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน อยู่สูงจากระดับ

               ทะเลปานกลาง 20-100 เมตร มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ส่วนพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่ง
               อยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ำ  มีลักษณะพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงพื้นที่ราบเรียบ อยู่สูงจากระดับทะเล

               ปานกลาง น้อยกว่า 10 เมตร ยังคงมีการใช้ประโยชน์ที่ดินทำนา และบางส่วนยกร่องปลูกปาล์มน้ำมัน

               รวมทั้งเป็นพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัยและโรงงาน เนื่องจากมีการคมนาคมที่สะดวก (ภาพที่ 3-1 และภาพที่
               3-2)







                                แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49