Page 29 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             13



                                (1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลดินเพื่อการจำแนกตามลักษณะและสมบัติดินประจำชุดดิน

                   จำแนกประเภทและความรุนแรงของดินปัญหาต่อการผลิตพืช ตามปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติและ
                   จากการใช้ที่ดิน รวมถึงดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจำกัดทางการเกษตร

                                (2) การจัดทำแผนที่ดินปัญหาและประเมินความรุนแรงของดินปัญหาในพื้นที่ดำเนินการ

                   เพื่อนำไปใช้ในแก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รวมถึงกำหนดมาตรการด้านการ
                   อนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อการใช้ที่ดินทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน




                              การประเมินสถานภาพทรัพยากรน้ำ สำหรับนำไปใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของ

                   ดิน จัดทำแผนการใช้ที่ดิน กำหนดมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ำ การ

                   ประเมินปริมาณน้ำผิวดินที่ไหลจากพื้นผิวดินสู่ร่องน้ำ ลำห้วย คลองและแม่น้ำ โดยอาศัยการคำนวณจาก
                   ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่หนึ่งๆ แล้วถูกดูดซับลงไปเก็บกักไว้ในดิน และระเหยไปในอากาศ น้ำที่

                   เหลือจากกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ จะไหลลงสู่ร่องน้ำ ลำห้วย คลอง และแม่น้ำต่อไป อัตราการไหลและ

                   ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรง ปริมาณน้ำ ทิศทางลม ลักษณะความลาดเทของ
                   พื้นที่ ประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำบนผิวดิน การใช้ที่ดินสมบัติของดิน และขนาดของพื้นที่รับน้ำ ทั้งนี้

                   เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่สอดคล้องกับหลักการสำคัญของการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เป็นการรักษาความชุ่มชื้นใน

                   ดิน การเก็บกักน้ำไหลบ่าบนผิวดินไว้ใช้ในพื้นที่ที่เพื่อประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของพื้นที่บริเวณนั้น ๆ
                   ในขณะเดียวกันจะต้องระบายน้ำส่วนเกินทิ้งไปในพื้นที่ที่ควบคุมได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่

                   โดยเฉพาะการกัดเซาะพังทลายของดิน  จึงกำหนดการประเมินศักยภาพภาพปริมาณน้ำท่า ดังนี้
                             1) การคำนวณปริมาณน้ำท่า ด้วยวิธี Reginal Runoff equation (Lanning-Rush, 2000)

                   โดยอาศัยความสัมพันธ์แบบรีเกรซชั่น (regression) ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ยและพื้นที่รับน้ำฝน

                   จากข้อมูลสถานีวัดน้ำในลุ่มน้ำต่าง ๆ ในลุ่มน้ำขนาดใหญ่ เพื่อหาปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยที่จุดต่าง ๆ ในลุ่มน้ำ
                   ดังสมการ


                                             
                                  =                                                                (1)
                                   
                          เมื่อ            คือ ปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีเฉลี่ย (ลูกบาศก์เมตร/วินาที)
                                   
                                            คือ พื้นที่รับน้ำฝน (ตารางกิโลเมตร)

                                      ,        คือ ค่าคงที่คำนวณจากกราฟ

                             2) การคำนวณปริมาณน้ำท่าโมเดล  ในพื้นที่ที่มีจำนวนและความซับซ้อนของข้อมูลมาก
                       สามารถใช้ซอฟแวร์แบบจำลอง SWAT (SWAT model software) ในการจำลองสถานการณ์ได้

                       SWAT model เป็นการจำลองกระบวนการทางอุทกวิทยา โดยใช้สมการสมดุลน้ำ ดังสมการ


                           SW  = SW +∑       (   −    −      −    −      )                      (2)
                              t
                                                         
                                                                 
                                                                                 
                                                                        
                                                  
                                           =1
                   เมื่อ   SW   คือ ปริมาณน้ำในดินที่เป็นประโยชน์ (Available water capacity, มิลลิเมตร)
                             t

                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34