Page 128 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 128

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                         100



               เกณฑ์มาตรฐาน เกษตรกรและชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงมีการ

               กำหนดแนวทางและมาตรการที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา แผนการใช้ที่ดิน บนพื้นฐานการมีส่วน
               ร่วม ประกอบด้วย

                            1. มาตรการด้านอนุรักษ์ดินน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน แบ่งตามระดับ

               ความรุนแรงของการชะล้าง ดังนี้
                              1.1 พื้นที่ที่มีการชะล้างรุนแรงมาก กำหนดมาตรการ คือ การไถพรวนและปลูกพืชตาม

               แนวระดับ (contour cultivation) การยกร่องตามแนวระดับ (ridging) การสร้างคันดิน (terrace, bench
               terrace) คันดินเบนน้ำ (division terrace) แนวหญ้าแฝกทางลำเลียง (farm road) คูรับน้ำขอบเขา

               (hillside ditch) ทางระบายน้ำ (waterways) ฝายชะลอน้ำ (check dam, weir) บ่อดักตะกอน (pond)

                              1.2 พื้นที่ที่มีการชะล้างปานกลาง กำหนดมาตรการ คือ การไถพรวนและปลูกพืชตาม
               แนวระดับ (contour cultivation) การยกร่องตามแนวระดับ (ridging) การสร้างคันดิน (terrace, bench

               terrace) คันดินเบนน้ำ (division terrace) แนวหญ้าแฝกทางลำเลียง (farm road) คูรับน้ำขอบเขา
               (hillside ditch) ทางระบายน้ำ (waterways) ฝายชะลอน้ำ (check dam, weir) บ่อดักตะกอน (pond)

                              1.3 พื้นที่ที่มีการชะล้างรุนแรงน้อย กำหนดมาตรการ คือ การไถพรวนและปลูกพืชตาม

               แนวระดับ (contour cultivation) การยกร่องตามแนวระดับ (ridging) การสร้างคันดิน (terrace, bench
               terrace) คันดินเบนน้ำ (division terrace) แนวหญ้าแฝกทางลำเลียง (farm road) คูรับน้ำขอบเขา

               (hillside ditch) ทางระบายน้ำ (waterways) ฝายชะลอน้ำ (check dam, weir) บ่อดักตะกอน (pond)

               การไถพรวนดินล่าง (sub soiling) การปรับระดับ และปรับรูปแปลงนา
                            2. มาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ดินที่พบส่วนใหญ่มีปัญหา

               ดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงกำหนดมาตรการ คือ ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชปุ๋ยสด การใช้ปุ๋ยคอก
               ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

                            3. มาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ พื้นที่ทางการเกษตร พบปัญหา

               การขาดแคลนน้ำสำหรับพื้นที่เกษตรกรรรม จึงกำหนดมาตรการตามสภาพปัญหาและความต้องการของ
               ชุมชน คือ อ่างเก็บน้ำ สระเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ การปรับปรุงลำน้ำ คลองส่งน้ำ พร้อมวางระบบส่งน้ำ







                           ในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ดินและน้ำ จะพิจารณาการบริหารจัดการเป็นลุ่มน้ำ ดังนั้น

               จึงได้นำผลจากการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการจากการจัดลำดับความสำคัญมาพิจารณาเพื่อกำหนดพื้นที่และ
               มาตรการ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายย่อย ๆ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและการติดตาม

               ประเมินผลตัวชี้วัด โดยในปีงบประมาณ 2565 สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่รับน้ำคลองบางเท่าแม่
               ครอบคลุมพื้นที่บ้านบางเท่าแม่ หมู่ที่ 1 บ้านบางยิงวัว หมู่ที่ 3 บ้านเขาต่อ หมู่ที่ 4 และบ้านบางโสก หมู่ที่

               5 ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวม 11,490 ไร่ โดยกำหนดมาตรการ







                                แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133