Page 53 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



              ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                       ในสภาพพื้นที่ที่ปลูกไม้ยืนต้น ดินบนสะสมอินทรียวัตถุพวกเศษใบไม้

              และมีชั้นของวัสดุที่ย่อยสลาย หรือขุยอินทรีย์ (mull) กิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน
              ทำาให้เกิดการพัฒนาของชั้นวินิจฉัย ochric ที่มีสีนำ้าตาลอ่อน (หรือสีนำ้าตาล

              เข้มของชั้น mollic ที่อยู่ใต้ชั้น cambic ที่มีความอิ่มตัวเบสตำ่า) เมื่อมีการเขตกรรม
              และใส่วัสดุปูนดิน อินทรียวัตถุจะให้ฮิวมัส ลักษณะของชั้น cambic จะมี

              สีนำ้าตาล มีโครงสร้างดินแบบก้อนเหลี่ยมหรือแท่งหัวตัด วัตถุต้นกำาเนิดของกลุ่มดิน
              อ้างอิงนี้ ปกติจะมีการระบายนำ้าดี โดยอาจมีหรือไม่มีสารประกอบแคลเซียม

              คาร์บอเนต (calcareous) ก็ได้


              สภาพแวดล้อมและภูมิลักษณ์ (Environment and landforms)


                       กลุ่มดิน Cambisols พบในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศชื้น ส่วนใหญ่มีภูมิลักษณ์ที่มีอายุน้อย เนื่องจาก

              กระบวนการควบคุมการเกิดดินมีเวลาในการพัฒนาจำากัด ดังนั้นกลุ่มดินนี้มักเกิดบนพื้นที่ตกทับถมของดินทรายและ
              ดินร่วนที่เคลื่อนย้ายมาใกล้ ในยุคไพลสโตซีน และมักเกิดบนพื้นที่เนินเขาหรือภูเขาที่รองรับด้วยหินทราย หินดินดาน
              และหินปูน แต่กลุ่มดินนี้เกิดได้ยากในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น



              การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)


                       กลุ่มดิน Cambisols เหมาะสมต่อการปลูกพืชหลากหลาย มีศักยภาพทางการเกษตรสูง เนื่องจากได้รับ
              ความอุดมสมบูรณ์มาจากวัตถุต้นกำาเนิด การใส่ปูนและปุ๋ยเพิ่มลงไปจะช่วยให้ได้รับผลผลิตสูงขึ้น







































                                                                                                        49
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58