Page 43 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






              Arenosols












              คำาจำากัดความ (Definition)


                       กลุ่มดิน Arenosols เป็นดินที่มีชั้นดินหยาบกว่าดินร่วนปนทราย หนาอย่างน้อย 100 เซนติเมตรจากผิวดิน

              หรือถึงชั้นสะสมศิลาแลงอ่อน (plinthic) เพโทรพลินต์ทิก (petroplinthic) หรือชั้นวินิจฉัย salic และมีชิ้นส่วนหิน
              (rock fragment) ปะปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร ชั้นดินวินิจฉัยของกลุ่มดิน Arenosols ได้แก่

              ชั้นดินวินิจฉัย ochric yermic albic plinthic petroplinthic หรือ salic


              การแจกกระจาย (Distribution)


                       กลุ่มดิน Arenosols พัฒนาได้ทั้งจากตะกอนทรายซึ่งเป็นสิ่งที่ทับถมลมพา (aeolian) ตะกอนทราย

              ที่นำ้าทะเลพัดพามา ทรายที่ทับถมในทะเสสาบ และตะกอนทรายที่นำ้าพัดพามา ทั่วโลกพบกลุ่มดินนี้มากถึง
              5.6 พันล้านไร่ พบมากในแถบทะเลทรายของทวีปแอฟริกา ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย และทวีปอเมริกาใต้

              กลุ่มดินดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับกลุ่มดิน Leptosols Regosols Calcisols Solonchaks และ Podzols
                       ในประเทศไทย กลุ่มดิน Arenosols มีพื้นที่รวมทั้งประเทศ 6.4 ล้านไร่ พบกระจายอยู่ในภาคตะวันออก

              เฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้


              การกำาเนิด (Formation)


                       กลุ่มดิน Arenosols พัฒนามาจากวัตถุต้นกำาเนิดที่มีเนื้อหยาบ มีการสะสมอินทรียวัตถุตำ่า ซึ่งเป็นลักษณะเด่น

              ของชั้นวินิฉัย ochric ที่พบในเขตภูมิอากาศแบบกึ่งแห้งแล้ง สำาหรับในเขตร้อนชื้น ภายใต้สภาพการใช้ที่ดิน
              ในการเพาะปลูกอย่างเข้มข้น เกิดกระบวนการทางดินเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์จากผิวดินลงสู่ชั้นดินล่าง หรือที่เรียกว่า
              กระบวนการ cheluviation จะทำาให้เกิดชั้น albic อยู่ลึกมาก และหากมีการพัฒนาเป็นชั้นวินิจฉัย spodic ชัดเจน

              ดินควรจะถูกจำาแนกเป็นกลุ่มดิน Podzols

                       กลุ่มดิน Arenosols ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จะพบชั้นหนาของ giant podzol (Albic Arenosols)
              ซึ่งอาจจะหนาถึง 12 เซนติเมตร ในหน้าตัดดินอื่นๆ อาจพบชั้น plinthic หรือ petroplinthic เป็นแนวอยู่ด้านล่าง
              ซึ่งจะทำาให้ดินเหล่านี้ตื้นขึ้น












                                                                                                        39
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48