Page 155 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 155

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






              ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                       ลักษณะของดินเป็นดินเหนียวจัด สีดำา เนื้อดินละเอียด มีร่องแตกระแหงลึกและกว้างลงไปในดินในบางช่วง
              เวลาของปี ลักษณะเช่นนี้ทำาให้ดินในชั้นดินบนมีโอกาสร่วงหล่นลงไปในดินล่าง ทำาให้เกิดลักษณะการกลับหน้าดิน

              การที่มีก้อนดินหรือวัสดุอื่นๆ ในดินชั้นบนตกลงไปในร่องแตกระแหง ทำาให้เกิดลักษณะผิวหน้าตะปุ่มตะปํ่าขึ้น
              ดินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นดินที่มีวิวัฒนาการไม่มากนักและมีลักษณะชั้นในหน้าตัดดินไม่ชัดเจน



              สภาพแวดล้อมและภูมิสัณฐาน (Environment and landforms)


                       กลุ่มดิน Vertisols พบมากในบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อน กึ่งร้อน หรือกึ่งชื้นถึงกึ่งแห้ง
              ที่มีกระบวนการเปียกสลับแห้งอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่พบในบริเวณแอ่งตำ่า ที่ราบเรียบไปจนถึงลูกคลื่นลอนลาด

              ดินนี้พบได้ในสภาพทุ่งหญ้าหรือสภาพป่าไม้ โดยดินกลุ่มนี้สามารถพัฒนาได้จากวัตถุต้นกำาเนิดที่มีเบสสูงในเขตร้อน
              เช่น หินปูน เป็นต้น



              การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)


                       กลุ่มดิน Vertisols จัดเป็นดินที่ให้ผลผลิตดีดินหนึ่งของประเทศไทยแต่มีข้อจำากัดคือ ในบริเวณที่ค่อนข้าง
              แห้งแล้งพบรอยแตกระแหงของกลุ่มดิน Vertisols ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น การไถพรวนดิน

              แต่ในบริเวณที่ค่อนข้างชื้นหรือพื้นที่ที่มีระบบชลประทานปัญหาเหล่านี้จะลดลง ในบริเวณพื้นที่ดอนใช้ประโยชน์
              ในการปลูกพืชไร่ เช่น ปลูกข้าวโพด อ้อย ส่วนในบริเวณพื้นที่ลุ่มส่วนใหญ่ใช้ทำานาหรือบางบริเวณปลูกพืชผัก เป็นต้น









































                                                                                                       151
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160