Page 143 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 143

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










              ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                       หน้าตัดดินของกลุ่มดิน Solonchaks มีลักษณะของการขังนำ้า (gleyic properties) ที่บางช่วงของ

              ความลึก พื้นที่ตำ่าที่มีระดับนำ้าใต้ดินอยู่ตื้น พบการสะสมของเกลือรุนแรงที่สุดที่ผิวดิน ส่วนบริเวณที่นำ้าใต้ดินขึ้นไป
              ไม่ถึงผิวดิน การสะสมของเกลือจะพบในชั้นใดชั้นหนึ่งที่อยู่ใต้ผิวดิน



              สภาพแวดล้อมและภูมิสัณฐาน (Environment and landforms)


                       สภาพแวดล้อมอยู่ในเขตแห้งแล้งหรือกึ่งแล้ง ในพื้นที่ที่นำ้าใต้ดินสามารถขึ้นมาถึงดินบนได้ หรือในสภาพพื้นที่
              ที่มีพืชพรรณพวกหญ้าหรือไม้ทนเค็ม นอกจากนี้กลุ่มดิน  Solonchaks  ที่เกิดบริเวณตามแถบชายฝั่งสามารถเกิดได้

              ในทุกสภาพภูมิอากาศ



              การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)

                       การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการสะสมของเกลือที่ละลายได้อยู่บนผิวดินบนในปริมาณที่สูง ควรต้องมีวิธีการ

              เขตกรรมก่อนการปลูกพืชหลัก เพื่อลดความเร็วของการเคลื่อนย้ายเกลือลงระดับหนึ่ง ซึ่งพืชสามารถเจริญเติบโตได้
              มีการจัดการระบบการระบายนำ้าเค็มออกจากพื้นที่โดยใช้นำ้าชลประทาน ปลูกพืชชอบเกลือร่วมกับไม้ยืนต้นทนเค็มจัด

              เพื่อคลุมดินและลดระดับนำ้าใต้ดินโดยตรง และอาจปลูกพืชทนเค็มเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน









































                                                                                                       139
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148