Page 136 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 136

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






            Podzols











            คำาจำากัดความ (Definition)


                     กลุ่มดิน Podzols เป็นดินกรดจัด พบชั้นสะสมสปอดิก (illuvial spodic horizon) ร่วมกับการสะสมของ
            อินทรียวัตถุที่มีสีดำา และ/หรือเหล็กออกไซด์สีแดง ภายในความลึก 200 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยทั่วไปจะพบชั้น

            ซึมชะสีเทาหม่น (ash-grey eluvial) อยู่เหนือชั้น illuvial ดินในกลุ่ม Podzols จะเกิดในพื้นที่ที่มีสภาพ
            ภูมิอากาศชื้นตั้งแต่เขตหนาว เขตอบอุ่นไปจนถึงเขตร้อนชื้น โดยชื่อของดินกลุ่ม Podzols ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในระบบ

            การจำาแนกดินระดับชาติ หรืออาจจะเรียกว่า ดิน Spodosols (จีนและสหรัฐอเมริกา)


            การแจกกระจาย (Distribution)


                     กลุ่มดิน Podzols ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,031 ล้านไร่ ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในเขตอบอุ่นและเขต

            หนาวของซีกโลกเหนือ บริเวณสแกนดิเนเวีย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศรัสเซียและแคนาดา นอกจากนี้
            ยังพบกลุ่มดินนี้ในบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศแบบอบอุ่นหรือชื้น เขตร้อนชื้น เขตร้อนมีกลุ่มดิน Podzols ประมาณ

            63 ล้านไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเขตชื้นของหินทรายที่กำาลังผุพังสลายตัว และตะกอนนำ้าพาของหินทรายควอตซ์
            อาทิเช่น บริเวณชายฝั่งที่ยกตัวขึ้นมา ได้แก่ ตามแนวรัฐริโอเนโกร ประเทศอาร์เจนตินา เฟรนช์เกียนา ประเทศ

            ฝรั่งเศส ประเทศกายอานาและซรินามในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในกาลีมันตัน
            และเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศปาปัวนิวกินี และทางตอนเหนือและตะวันออกของออสเตรเลีย

            แต่พบเป็นบริเวณน้อยในทวีปแอฟริกา
                     ประเทศไทยพบกลุ่มดิน Podzols โดยมีเนื้อที่ประมาณ 639,548 ไร่ ในบริเวณชายฝั่งทะเลทาง

            ภาคตะวันออกและภาคใต้


            การกำาเนิด (Formation)


                     เกิดการชะละลายอย่างรุนแรง ทำาให้ดินเป็นกรดจัด สภาพเหมาะต่อการเกิดการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์

            เป็นฮิวมัสจากซากพืชผุ (a mor humus) และแร่ดินเหนียวมีโครงสร้างขนาดเล็กลง เหล็กและอะลูมินัมเคลื่อนย้าย
            จากชั้นซึมชะ (ด้วยกระบวนการ cheluviation) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าปฏิกิริยาดิน การเกิดวัฎจักรเปียกสลับ

            แห้ง มีกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน และการสร้างคีเลต กระบวนการเหล่านี้ทำาให้เกิดชั้นวินิจฉัย spodic










                                                                                                     132
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141