Page 110 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 110

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



            ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                     กลุ่มดิน Luvisols เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนมีสีนำ้าตาลเข้ม อาจพบ

            ชั้นวินิจฉัย albic แต่ไม่เด่นชัด เกิดใต้ชั้นวินิจฉัย ochric ซึ่งมีสีจางและเนื้อหยาบ
            โครงสร้างดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยม (blocky structure) ส่วนชั้นวินิจฉัย argic

            มีโครงสร้างแบบแท่งหัวเหลี่ยม (prismatic structure) โดยขึ้นอยู่กับความหนา
            ของชั้นดินเหนียวที่เคลือบอยู่



            สภาพแวดล้อมและภูมิสัณฐาน (Environment and landforms)


                     โดยทั่วไปดินในกลุ่ม Luvisols จะเกิดในเขตอบอุ่นและหนาวเย็นที่มีปริมาณนำ้าฝนปานกลาง และ
            มีช่วงแล้งที่ชัดเจน พบในสภาพภูมิประเทศเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยหรือพื้นที่ราบ การเกิดดินกลุ่ม Luvisols

            มักเกิดช่วงแห้งแล้งซึ่งผิวหน้าดินมีรอยแตกทำาให้เกิดช่องว่างตั้งแต่ผิวหน้าดิน เกิดการเคลื่อนย้ายสารแขวนลอยดิน
            ในฤดูฝน วัตถุต้นกำาเนิดเป็นวัสดุที่มีความหลากหลาย อาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยก็ได้  ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำา

            ของธารนำ้าแข็ง  การกร่อนโดยลมตะกอนนำ้าพา และเศษหินตะกอนดาดเชิงเขา

            การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)


                     กลุ่มดิน Luvisols มีความอุดมสมบูรณ์ดี การใช้ที่ดินทางการเกษตรมีความหลากหลายมาก กลุ่มดินนี้

            มีปริมาณดินทรายแป้งสูง ทำาให้ดินเกิดการเสื่อมโทรมได้ง่ายเมื่อดินเปียกหรือใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ หากพบ
            บนพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและนำ้า ในบางพื้นที่ดินล่างอาจจะแน่นทึบ เกิดจากสภาพรีดิวซ์

            และสมบัติ stagnic






































                                                                                                     106
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115