Page 4 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                     สถานการณ์การชะล้างพังทลายของดินนับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร

               ที่ดิน น าไปสู่ปัญหาภัยคุกคามและเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงทางอาหารและการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
               ทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสนใจและตระหนักถึงผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม
               ทรัพย์สิน และความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในพื้นที่ชนบทและชุมชนเมือง  การทราบถึงสถานภาพการชะล้าง
               พังทลายของดินทั้งความรุนแรงและผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ท าให้สามารถน าไปใช้ในการติดตาม ป้องกัน
               บรรเทา และควบคุมการฟื้นฟูจัดการที่มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดยเฉพาะภายใต้สภาวะความ
               แปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
               สิ่งแวดล้อม ในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
                      ปี 2563 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรับปรุงฐานข้อมูลสถานภาพการชะล้าง

               พังทลายของดินในประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถ
               น าไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการด าเนินงานโครงการและก าหนดนโยบายให้สอดคล้องกับบริบทและ
               สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และคาดการณ์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
               โดยด าเนินการรวบรวมฐานข้อมูลในระดับมาตราส่วนที่มีความละเอียดในเชิงพื้นที่มากขึ้น ร่วมกับการประยุกต์ใช้
               เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินให้เป็นปัจจุบันทั้ง
               ระดับประเทศและระดับภาค ส าหรับน าไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินในระดับพื้นที่ องค์ประกอบของ
               เนื้อหาทั้งหมดมี 5 บท ประกอบด้วย 1) บทน าที่กล่าวถึงความส าคัญ ค านิยาม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ
               ชะล้างพังทลายของดิน รวมถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) การประเมินค่าการสูญเสียดินที่มีรายละเอียด
               ของการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และวิธีการประเมินตามหลักวิชาการ 3) สถานภาพการชะล้างพังทลาย

               ของดินในประเทศ เป็นฐานข้อมูลที่แสดงในระดับประเทศและระดับภาค  รวมถึงมูลค่าการสูญเสียทาง
               เศรษฐศาสตร์  4) แนวทางการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ าทั้งมาตรการวิธีกล
               และวิธีพืช และ 5) การขับเคลื่อนการด าเนินงานป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในด้านกลไก ด้านแผน
               ด้านวิชาการ และการน าแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
                       กรมพัฒนาที่ดิน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดท าหนังสือสถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย
               เล่มนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคศาสนา เกษตรกรและประชาชน
               ทั่วไป รวมถึงสร้างความตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ดินและน้ า รักษาระบบนิเวศและปลูกจิตส านึกในการอนุรักษ์
               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

               ในการด าเนินงานให้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้




                                                                         (นายสถาพร  ใจอารีย์)
                                                                        รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9