Page 39 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ.2562
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
3) ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 37,898 ไร่ หรือร้อยละ 2.85 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ยูคาลิปตัส ไผ่ปลูกเพื่อการค้า และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
(1) ยูคาลิปตัส (A304) มีเนื้อที่ 21,829 ไร่ หรือร้อยละ 1.65 ของเนื้อที่จังหวัด
ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด โดยนิยมปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง
(2) ปาล์มน้ำมัน (A303) มีเนื้อที่ 5,724 ไร่ หรือร้อยละ 0.43 ของเนื้อที่จังหวัด
ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด
(3) ไผ่ปลูกเพื่อการค้า (A315) มีเนื้อที่ 3,918 ไร่ หรือร้อยละ 0.30 ของเนื้อที่
จังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด
(4) ยางพารา (A302) มีเนื้อที่ 1,074 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วน
ใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด
(5) ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ยืนต้นผสม สัก
สนประดิพัทธ์ กระถิน ประดู่ หมาก กฤษณา และตะกู มีเนื้อที่ 5,353 ไร่ หรือร้อยละ 0.39 ของเนื้อที่
จังหวัด
4) ไม้ผล (A4) มีเนื้อที่ 34,096 ไร่ หรือร้อยละ 2.55 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ มะม่วง
กล้วย ส้มโอ มะปราง มะยงชิด และไม้ผลอื่นๆ
(1) มะปราง มะยงชิด (A429) มีเนื้อที่ 7,472 ไร่ หรือร้อยละ 0.56 ของเนื้อที่
จังหวัด ปลูกมากบริเวณอำเภอบ้านนา และอำเภอเมืองนครนายก
(2) กล้วย (A411) มีเนื้อที่ 4,629 ไร่ หรือร้อยละ 0.36 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วน
ใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด
(3) มะม่วง (A407) มีเนื้อที่ 4,581 ไร่ หรือร้อยละ 0.35 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วน
ใหญ่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด
(4) ส้มโอ (A427) มีเนื้อที่ 1,720 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่จังหวัด ปลูก
มากบริเวณอำเภอปากพลี และอำเภอเมืองนครนายก
(5) ไม้ผลอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ผลผสม ส้ม ทุเรียน เงาะ มะพร้าว
ลิ้นจี่ พุทรา น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ ขนุน กระท้อน มังคุด ลางสาด ลองกอง มะนาว มะกอกน้ำ
มะกอกฝรั่ง แก้วมังกร มะไฟ และละไม มีเนื้อที่ 15,694 ไร่ หรือร้อยละ 1.15 ของเนื้อที่จังหวัด
5) พืชสวน (A5) มีเนื้อที่ 11,685 ไร่ หรือร้อยละ 0.88 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ พืชสวน
ร้าง/เสื่อมโทรม 638 ไร่ พืชผัก 1,525\7 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ 8,753 ไร่ และนาหญ้า 767 ไร่