Page 29 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ.2562
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
(1) มะม่วง (A407) มีเนื้อที่ 5,452 ไร่ หรือร้อยละ 0.35 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วน
ใหญ่ปลูกอยู่ในอำเภอหันคา อำเภอสรรคบุรี และอำเภอเมืองชัยนาท โดยปลูกเป็นสวนหลังบ้าน ส่วน
ใหญ่ปลูกกระจายทั่วจังหวัด
(2) กล้วย (A411) มีเนื้อที่ 2,141 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วน
ใหญ่ปลูกกระจายในทั่วจังหวัด
(3) ส้มโอ (A427) มีเนื้อที่ 1,829 ไร่ หรือร้อยละ 0.12 ของเนื้อที่จังหวัด
ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอำเภอมโนรมย์ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอสรรคบุรี พันธ์สมโอที่
นิยมปลูก ได้แก่พันธ์ขาวแตงกวา เป็นต้น
(4) ไม้ผลอื่น ๆ ได้แก่ ไม้ผลผสม ส้ม มะพร้าว พุทรา มะขาม ลำไย ฝรั่ง
มะละกอ กระท้อน ชมพู่ มะนาว มะปราง มะยงชิด และไม้ผลผสม มีเนื้อที่ 15,485 ไร่ หรือร้อยละ
0.10 ของเนื้อที่จังหวัด
5) พืชสวน (A5) มีเนื้อที่ 3,703 ไร่ หรือร้อยละ 0.24 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ แคนตาลูป และพืชสวนร้าง/เสื่อมโทรม
6) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ (A7) มีเนื้อที่ 4,377 ไร่ หรือร้อยละ 0.27
ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ และม้า โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
โรงเรือนเลี้ยงสุกร และโรงเรือนร้าง จังหวัดชัยนาทมีการผลิตปศุสัตว์พอสมควร การเลี้ยงสุกรจะเป็นการ
เลี้ยงในลักษณะฟาร์มขนาดเล็ก และเป็นการเลี้ยงกันตามบ้านเรือนทั่วไป
7) พืชน้ำ (A8) มีเนื้อที่ 48 ไร่ ได้แก่ บัว
8) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (A9) มีเนื้อที่ 1,290 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่
จังหวัด ประกอบด้วยสถานที่เพาะเลี้ยงปลา สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง และสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสมร้าง
มีเนื้อที่ 1,012 162 และ 116 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 0.01 และ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด ตามลำดับ
9) เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม มีเนื้อที่ 81 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด
2.2.3 พื้นที่ป่าไม้ (F) มีเนื้อที่ 45,136 ไร่ หรือร้อยละ 2.93 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
ป่าผลัดใบสมบูรณ์ ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู ป่าปลูกสมบูรณ์ และป่าปลูกรอสภาพฟื้นฟู ส่วนใหญ่เป็นป่า
ผลัดใบสมบูรณ์ มีเนื้อที่ 39,138 ไร่ หรือร้อยละ 2.54 ของเนื้อที่จังหวัด
2.2.4 พื้นที่น้ำ (W) จังหวัดชัยนาทมีแหล่งน้ำมากมายหลายประเภท กระจายอยู่ทั่วไปทุก
อำเภอ มีเนื้อที่ 70,544 ไร่ หรือร้อยละ 4.57 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่
1) แหล่งน้ำธรรมชาติ (W1) เช่น แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ
มีเนื้อที่ 35,344 ไร่ หรือร้อยละ 2.29 ของเนื้อที่จังหวัด
2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น (W2) เช่น อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำในไร่นา และคลองชลประทาน
มีเนื้อที่ 35,200 ไร่ หรือร้อยละ 2.28 ของเนื้อที่จังหวัด โดยมีเขื่อนสำคัญได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา