Page 14 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ.2562
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
ของข้อมูลภาพด้วยข้อมูลภาพช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic) หรือภาพขาว ดำ ที่มีรายละเอียดจุดภาพ
2 เมตร วิธีการนี้ทำให้ได้ข้อมูลภาพสีที่มีรายละเอียดจุดภาพเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2 เมตร และข้อมูลภาพสีจะ
ใช้การผสมสีจริง (True color composite) โดยช่วงคลื่นสีแดง (0.62-0.69 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสี
แดง ช่วงคลื่นสีเขียว (0.53-0.60 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีเขียว และช่วงคลื่นสีน้ำเงิน (0.45-0.52
ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีน้ำเงิน จากการผลิตภาพข้อมูลดาวเทียมดังกล่าว ทำให้ได้ภาพดาวเทียมที่มี
รายละเอียดจุดภาพสูงและมีสีตามธรรมชาติ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินด้วยสายตาง่าย
ยิ่งขึ้น
(2) การผลิตภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat 8 OLI เนื่องจากข้อมูลดาวเทียม
ประกอบด้วยภาพถ่ายหลายแบนด์ (Band) แยกกันอยู่ ซึ่งภาพในแต่ละแบนด์จะบันทึกข้อมูลในแต่ละ
ช่วงคลื่น ดังนั้นก่อนใช้งานจึงมีการนำภาพของแต่ละแบนด์มาหลอมรวมกัน โดยการศึกษาครั้งนี้ เลือก
การผสมแบนด์เป็นภาพสีผสมเท็จสามช่วงคลื่น (False color composite) แบนด์ 5R-6G-4Bคือ ช่วง
คลื่นที่ 5 Near Intreared NIR (0.85-0.88 ไมโครเมตร) ผ่านตัวกรองสีแดง ช่วงคลื่นที่ 6 SWIR 1
(1.57-1.65 ไมโครเมตร) ผ่านตัวกรองสีเขียว และช่วงคลื่นที่ 4 Red (0.64-0.67 ไมโครเมตร) ผ่านตัว
กรองสีน้ำเงิน ภาพที่ได้เหมาะสำหรับจำแนกพืชพรรณ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา เป็นต้น
(3) การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินจากข้อมูลจากดาวเทียม และภาพถ่ายออร์โธสี
เชิงเลข พิจารณาจากองค์ประกอบของข้อมูล คือ ความเข้มของสีและสี (tone/color) ขนาด (size)
รูปร่าง (shape) เนื้อภาพ (texture) รูปแบบ (pattern) ความสูงและเงา (height and shadow) ความ
เกี่ยวพัน (association) และการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (temporal change) ของข้อมูล เพื่อ
วิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แล้วจึงนำชั้น
ข้อมูลที่ได้ทำการซ้อนทับกับภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข และข้อมูลภาพจากดาวเทียมไทยโชต เพื่อพิมพ์เป็น
แผนที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลในภาคสนาม
3) การสำรวจข้อมูลในภาคสนาม ทำการสำรวจตรวจสอบรายละเอียดสภาพการใช้ที่ดิน
ภาคสนามในพื้นที่จริง พร้อมแก้ไขรายละเอียดให้มีความถูกต้องตรงกับสภาพปัจจุบัน
4) การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS database)
เป็นการจัดทำข้อมูลทั้งเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
(attribute data ) ของข้อมูลจากภาคสนาม และข้อมูลแผนที่จากส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการนำเข้าใน
ระบบสารสนเทศด้วยโปรแกรมวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังนี้
(1) การสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการนำเข้าข้อมูลในรูปแผนที่เพื่อใช้
วิเคราะห์และประมวลผลเชิงพื้นที่
(2) การสร้างฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data) เป็นการนำเข้าข้อมูล
ด้านคุณลักษณะของแผนที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชิงพื้นที่ เพื่อทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ข้อมูลทั้ง 2 ประเภท เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป