Page 28 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       16






                       2.4 ทรัพยากรดิน

                              2.4.1 ชุดดินวังสะพุง (Wang Saphung series: Ws) มีเนื้อที่ 323.32 ไร่ หรือร้อยละ 81.61
                       ของเนื้อที่ทั้งหมด (ภาพที่ 10) จ าแนกอยู่ในพวกดิน (Family)  :  fine,  mixed,  isohyperthermic,
                       UlticHaplustalfs.  เป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือหินดาดเชิงเขาของวัตถุต้นก าเนิดดิน

                       พวกหินดินดานและหินฟิลไลท์ ในบริเวณพื้นผิวที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน และที่ลาดเชิงเขา เป็นดินลึก
                       ปานกลาง มีการระบายน้ าดี ความสามารถในการให้น้ าซึมผ่านได้ปานกลาง และมีการไหลบ่าของน้ าบน
                       ผิวหน้าดินปานกลาง (ภาพที่ 8)
                              ดินบนลึกประมาณ 10-20  เซนติเมตร เนื้อดินเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนดินเหนียว สีพื้นสี
                       น้ าตาลเข้ม หรือสีเข้มมากของสีน้ าตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง   (pH 6.0-

                       7.0)
                              ดินล่าง มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินเหนียว สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนแดง หรือสี
                       แดงปนเหลือง มักจะจุดประสีของหินพื้น (saprolite) ในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่จัดถึงเป็น

                       กรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
                              จากการวิเคราะห์ทางเคมีของตัวแทนของชุดดินนี้ ปรากฏว่า ดินบนหนา 0-30 เซนติเมตร มี
                       ปริมาณอินทรียวัตถุสูง การอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุ
                       บวกสูง ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า และปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูง

                       ส่วนดินล่างลึก 30-100  เซนติเมตร มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง การอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง
                       ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า และปริมาณธาตุ
                       โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูง ซึ่งโดยสรุปแล้วชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางในดินบน และ
                       สูงในดินล่าง

                              ปัญหาและข้อจ ากัดในการปลูกพืช การชะล้างพังทลายของหน้าดิน ขาดแคลนน้ าส าหรับการ

                       ปลูกพืชในบางช่วง ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงเร็ว เนื่องจากการชะล้างพังทลายของดินและขาด
                       การบ ารุงดิน

                              2.4.2 ชุดดินลี้ (Li series: Li) มีเนื้อที่ 72.88 ไร่ หรือร้อยละ 18.39 ของเนื้อที่ทั้งหมด    (ภาพที่ 10)
                       จ าแนกอยู่ในพวกดิน (Family): Clayey-skeletal, mixed, semiactive, shallow, isohyperthermic, Ultic
                       Haplustalfs.  เป็นดินที่เกิดจากการผุพังของหินตะกอนเนื้อละเอียดและหินที่แปรสภาพ เช่น หินดินดาน หิน

                       ทรายแป้ง หินโคลน หินชนวน หินฟิลไลท์ บริเวณพื้นที่ภูเขา และรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้าย
                       มาเป็นระยะทางใกล้ ๆ โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขาเป็นดินตื้นหรือตื้นมากถึงชั้นเศษหินหนาแน่น มีการ
                       ระบายน้ าดี ความสามารถในการให้น้ าซึมผ่านได้ปานกลาง และมีการไหลบ่าของน้ าบนผิวหน้าดินปานกลางถึง

                       เร็ว (ภาพที่ 9)
                              ดินบน เนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนปนดินเหนียวปนเศษหิน สีน้ าตาล

                       เข้มหรือสีน้ าตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)

                              ดินล่าง เนื้อดินเป็นดินเหนียวปนเศษหินหนาแน่นมาก สีแดงหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยา
                       ดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย  (pH 5.5-6.5)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33