Page 145 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 145

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          ๔๐


                  3.2  ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่
                             จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ตัวอย่าง ด้วยระบบสารสนเทศ

                  ภูมิศาสตร์ โดยวิธีการซ้อนทับข้อมูลร่วมกับการส ารวจความลาดชันและสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินใน

                  ภูมิประเทศจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของภูมิประเทศที่ส่งผลกระทบต่อ
                  การเปลี่ยนแปลงความลาดชันของพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ด้านการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  เพื่อการตั้งถิ่นฐาน การส่งเสริมเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาเมือง รองลงมา ได้แก่

                  ภัยธรรมชาติ ประเภท ดินถล่มหรือโคลนถล่ม ตัวอย่างเช่น
                             3.2.1  การท าอุตสาหกรรม ประเภทเหมืองแร่ทองค า ต าบลท้ายดง อ าเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

                  เป็นการท าแบบเหมืองเปิด มีการขุด-เจาะหน้าดิน และระเบิดหินบริเวณพื้นที่ภูเขาหรือพื้นราบ เพื่อเปิดหน้าดิน
                  ลงไปจนถึงแหล่งแร่ทองค า ซึ่งการท าเหมืองแร่แบบนี้ ต้องใช้เครื่องมือหนัก เช่น เครื่องเจาะ รถขุด รถตัก และ

                  รถขนแร่ขนาดใหญ่ ตลอดจนต้องมีการระเบิดบริเวณหน้าเหมืองเพื่อตัดเส้นทาง ส าหรับขนเครื่องจักร อุปกรณ์
                  การท าเหมืองขึ้นสู่หน้างาน เปิดเปลือกดิน และพัฒนาให้เป็นหน้าเหมืองที่พร้อมเพื่อการผลิตแร่ การตัดเส้นทาง

                  เพื่อใช้เป็นเส้นทางหลักในการขนแร่ ตลอดจนการปรับพื้นที่และสร้างอาคารต่าง ๆ ส่งผลให้ความลาดชัน

                  ของพื้นที่เปลี่ยนแปลง เช่น พื้นที่มีความชันมากขึ้นหรือพื้นที่มีความชันลดลง ดังภาพประกอบที่  3-30, 3-31
                  และ 3-32







































                  ภาพประกอบที่ 3-30  เหมืองแร่ทองค า ต าบลท้ายดง อ าเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150