Page 3 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            i




                                                           บทคัดย่อ


                        การจัดระดับความเหมาะสมด้านวินิจฉัยคุณภาพของปฐพีกลศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและ
                  บริหารจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้อง ปัจจุบันข้อมูลสมบัติของดินที่ใช้สําหรับวินิจฉัยด้านปฐพีกลศาสตร์
                  มีอยู่อย่างจํากัด โดยได้ทําการศึกษาลักษณะและสมบัติของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินที่พบในภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือ จากผลการจัดทําข้อมูลดินตัวแทนหลักในขณะนั้น ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
                  เนื้อดิน สภาพการนําน้ําของดิน การกระจายขนาดของเม็ดดิน ค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก จากผล
                  การศึกษา พบว่า ความเป็นกรดเป็นด่างตลอดความลึก 200 เซนติเมตร มีค่าอยู่ในช่วง 4.3 – 8.7 ซึ่งสะท้อนถึง
                  ผลต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิวอยู่ในระดับต่ํา ซึ่งไม่เป็นข้อจํากัดต่อการใช้สร้างโรงงาน

                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก

                        จากผลการศึกษาดินที่มีเนื้อดินประเภทดินทราย ดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย เป็นกลุ่มที่มี
                  ปริมาณอนุภาคขนาดทรายสูง (ร้อยละ 55.4 - 97.3) แต่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวต่ํา (ร้อยละ 0 - 19.8)
                  ส่งผลให้ดินมีสภาพให้ซึมได้ในระดับค่อนข้างเร็วถึงเร็วมาก ซึ่งมีความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือ

                  ดินคันทาง เส้นทางแนวถนน บ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ในขณะที่ดินเหนียวมี
                  ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวสูง (ร้อยละ 40.6 - 66.1) และอนุภาคขนาดทรายต่ํา ส่งผลให้ดินมีสภาพให้ซึมได้
                  ในระดับช้าถึงช้ามาก น้ําถูกเก็บไว้ในดินได้ดี ซึ่งเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นบ่อขุดและอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก
                  นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อดินในระบบ USDA กับการจําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO

                  ของดินตัวแทนหลัก พบว่า ดินทรายจําแนกในระบบ Unified เป็น SM และระบบ AASHO เป็น A-2-4 ดินร่วน
                  จําแนกในระบบ Unified เป็น ML, CL, MH, CH และระบบ AASHO เป็น A-4, A-5, A-6, A-7 ดินเหนียว
                  จําแนกในระบบ Unified เป็น ML, CL, MH, CH และระบบ AASHO เป็น A-7

                        เมื่อพิจารณาค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก พบว่า ดินส่วนใหญ่มีค่าขีดจํากัดของเหลวอยู่

                  ในช่วง 0.51 – 76.70  ซึ่งมีค่าขีดจํากัดของเหลวอยู่ในช่วงต่ําสุด (0.51 - 21.63) ในดินทราย และสูงสุดใน
                  ดินเหนียว (31.76 – 76.60) ดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวสูงส่งผลให้ค่าขีดจํากัดของเหลวเพิ่มขึ้น
                  ส่วนค่าดัชนีพลาสติก ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในช่วง 0.50 – 40.04 โดยมีค่าสูงในดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียวอยู่สูง ดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกสูงอาจเกิดการทรุดตัวค่อนข้างสูง เกิดการแตกร้าว มีการยืดและหดตัวสูง

                  ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนดินนี้สูงมาก ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย นครพนม ศรีสงคราม
                  และวังไห สะท้อนให้เห็นว่า ดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวเป็นองค์ประกอบอยู่สูงย่อมส่งผลต่อการ
                  เพิ่มขึ้นของค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก

                        ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การจัดระดับความเหมาะสมและข้อจํากัดของชุดดินตัวแทนหลักทางด้าน
                  ปฐพีกลศาสตร์ ในเรื่องการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน แหล่งทรายหรือกรวด ดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน

                  บ่อขุด อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก คันกั้นน้ํา ระบบบ่อเกรอะ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การสร้างอาคารต่ําๆ
                  และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสําหรับวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ เลือกใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมตรงตามศักยภาพของดิน และนําข้อมูลดังกล่าวมาจัดทําแผนที่

                  ความเหมาะสมของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และสะดวกต่อผู้ใช้งาน
   1   2   3   4   5   6   7   8