Page 164 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 164

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 54 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                กลุ่มชุดดินที่ 46 (Group 46) ดินตื้นถึงก้อนกรวด หรือเศษหินปนลูกรังหนามาก ได้แก่

                                  ชุดดินเชียงคาน (Ch) ชุดดินกบินทร์บุรี (Kb) และ ชุดดินสุรินทร์ (Su)

                                กลุ่มชุดดินที่ 47 (Group 47) ดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ได้แก่ ชุดดินลี้ (Li) และ ชุดดิน
                                  มวกเหล็ก (Ml)

                                กลุ่มชุดดินที่ 48 (Group 48) ดินตื้นถึงก้อนหินหรือเศษหิน ได้แก่ ชุดดินแม่ริม (Mr) ชุด

                                  ดินพะเยา (Pao) และ ชุดดินท่ายาง (Ty)

                                กลุ่มชุดดินที่ 49 (Group 49) ดินตื้นถึงลูกรังหรือชั้นเชื่อมแข็งของเหล็กทับอยู่บนชั้นดิน
                                  เหนียว ได้แก่ ชุดดินโพนพิสัย (Pp) และ ชุดดินสกล (Sk)


                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ
                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม เป็นข้อมูล

                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 57.95 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 22 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเครือสหาย (Affinity
                       groups) ภาพที่ 22ก


                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) ซิลิคอน (Si)

                               กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt) โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) และ

                       โพแทสเซียม (K)

                               กลุ่มที่ 3  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)

                       แมงกานีส (Mn) แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) ก ามะถัน (S) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 22ข ของกลุ่มชุดดินใน

                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้งของกลุ่มดินตื้น พบว่า ชุดดินลี้ ซึ่งเป็นดินในกลุ่มชุดดินที่ 47 และชุดดิน
                       สุรินทร์ ซึ่งเป็นดินในกลุ่มชุดดินที่ 46 มีปริมาณแมงกานีส เหล็ก ฟอสฟอรัส และสังกะสีสูงท าให้ดินใน

                       ชุดนี้แยกออกมาจากชุดดินอื่น ในขณะที่ ดินในกลุ่มชุดดินที่ 48 เป็นดินที่มีเนื้อหยาบ มีปริมาณ
                       อนุภาคขนาดทรายสูง







                                                                                                      151
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169