Page 140 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 140

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                กลุ่มชุดดินที่ 33 (Group 33) ดินทรายแป้งละเอียดมากที่เกิดจากตะกอนแม่น้ าหรือ

                                  ตะกอนน้ าพารูปพัด ได้แก่ ชุดดินก าแพงแสน (Ks) และ ชุดดินก าแพงเพชร (Kp)

                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 62.37 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 18  ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity

                       groups) ภาพที่ 18ก

                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) และซิลิคอน (Si)

                               กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย  อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay)  อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                       อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg) โซเดียม (Na)

                       โพแทสเซียม (K) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 18ข ของกลุ่มชุดดินใน

                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้งของกลุ่มดินริมแม่น้ าหรือตะกอนน้ าพารูปพัดพบว่า สมบัติของดินในกลุ่ม
                       นี้โดยส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยขนาดของอนุภาคขนาดดินเหนียว และอนุภาคขนาดทรายแป้งเป็นหลัก

                       โดยการที่ดินมีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวมาก ท าให้ดินมีความสามาถในการดูดยึดเบส ท าให้ดิน
                       นี้มีเบสมาก  (Allen  et  al.,  2000) ดินนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่เนื่องจากดินเป็นดินร่วนปน

                       ทรายแป้งท าให้ดินนี้อาจจะขาดน้ าในช่วงฤดูเพาะปลูก


                               2.3 กลุ่มดินร่วนละเอียด


                               ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ 35 และ 36

                               กลุ่มชุดดินที่ 35 กลุ่มดินร่วนละเอียดลึกถึงลึกมาก ที่เกิดจากตะกอนล าน้ าหรือวัตถุต้น
                       ก าเนิดดินเนื้อหยาบ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก การระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                       ข้อมูลปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมที่รวบรวมได้ในกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ ชุดดินดอนไร่ (Dr) ชุดดินด่าน

                       ซ้าย (Ds) ชุดดินโคราช (Kt) ชุดดินมาบบอน (Mb) ชุดดินสตึก (Suk) ชุดดินวาริน (Wn) ชุดดินยโสธร
                       (Yt) และชุดดินห้างฉัตร (Hc) แสดงในตารางที่ 45



                                                                                                      127
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145