Page 134 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 134

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn)  สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 92 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                    กลุ่มชุดดินที่ 28 (Group 28) ดินเหนียวลึกมากสีด าที่มีรอยแตกระแหงกว้างและลึก

                                     ได้แก่ ชุดดินชัยบาดาล (Cd) ชุดดินสมอทอด (Sat) ชุดดินวังชมภู (Wc) และ ชุดดิน
                                     ลพบุรี (Lb)

                                    กลุ่มชุดดินที่ 29 (Group 29) ดินเหนียวลึกถึงลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด ได้แก่

                                     ชุดดินบ้านจ้อง (Bg) ชุดดินโชคชัย (Ci) ชุดดินเชียงของ (Cg) ชุดดินแม่แตง (Mt)
                                     และ ชุดดินปากช่อง (Pc)

                                    กลุ่มชุดดินที่ 30 (Group 30) ดินเหนียวลึกถึงลึกมากที่พบในพื้นที่ภูเขา ปฏิกิริยาดิน

                                     เป็นกรดจัด ได้แก่ ชุดดินดอยปุย (Dp)

                                    กลุ่มชุดดินที่ 31 (Group 31) ดินเหนียวลึกถึงลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือเป็น

                                     ด่าง ได้แก่ ชุดดินเลย (Lo) และ ชุดดินวังไห (Wi)

                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 51.37 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 17  ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเครือสหาย (Affinity
                       groups) ภาพที่ 17ก


                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt) ซิลิคอน
                       (Si) และโพแทสเซียม (K)


                               กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)
                       ฟอสฟอรัส (P) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)


                               กลุ่มที่ 3  ประกอบด้วย แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg) แมงกานีส (Mn) โซเดียม (Na)
                       และก ามะถัน (S)


                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 17ข ของกลุ่มชุดดินใน
                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้งของกลุ่มดินเหนียว เห็นได้ว่ากลุ่มชุดดินที่ 28 แยกออกจากชุดดินอื่นใน

                       กลุ่มดินเหนียว เนื่องจากกลุ่มชุดดินที่ 28 เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง มีเบส เช่น

                       แคลเซียม และแมกนีเซียมสูง (Khitrov,  2016)  ในขณะที่กลุ่มชุดดินที่ 29  เป็นดินที่มีพัฒนาการสูง

                                                                                                      121
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139