Page 97 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 97

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       89



                                                                                             ภำคผนวกที่ 2


                                     กำรเตรียมสำรละลำยมำตรฐำนและกำรหำควำมเข้มข้นที่แน่นอน


                              สารละลายมาตรฐานกรดและเบสที่ใช้ในการทดลอง คือ สารละลายมาตรฐานกรดเกลือและ
                       เบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นที่แน่นอนของสารละลายมารฐานโซเดียมไฮดรอกไซด์ หาได้จาก
                       การไทเทรตกับสารปฐมภูมิ (primary standard solution) ของโพแทสเซียมไฮโดรเจนพทาเลต

                       (potassium hydrogen phthalate, KHP) และความเข้มข้นที่แน่นอนของสารละลายมาตรฐานกรด
                       เกลือสามารถหาได้จากการไทเทรตกับสารละลายมาตรฐานโซเดียมไฮดรอกไซด์อีกทีหนึ่ง

                              สารละลายมาตรฐานโซเดียมไฮดรอกไซด์ เตรียมได้จากโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เป็นของแข็ง
                       ควรชั่งโซเดียมไฮดรอกไซด์อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ดูดความชื้นและคาร์บอนไดออกไซด์จาก
                       อากาศ และเมื่อละลายน้ า ควรละลายในน้ ากลั่นที่ปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์ (เตรียมได้โดยการต้ม

                       น้ ากลั่นให้เดือด เพื่อไล่คาร์บอนไดออกไซด์เป็นเวลา 10-15 นาที แล้วเก็บไว้ให้เย็นโดยปิดฝาไว้) เมื่อ
                       เตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ได้แล้ว ท าการหาความเข้มข้นที่แน่นอน โดยการไทเทรตกับสาร
                       ปฐมภูมิโพแทสเซียมไฮโดรเจนพทาเลต (KHP) โดยใช้ฟีนอลพทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์

                              สารละลายมาตรฐานกรดเกลือเตรียมได้จากการละลายกรดเกลือเข้มข้น (ประมาณ 12 M)
                       ลงในน้ าตามปริมาณที่เหมาะสม แล้วหาความเข้มข้นที่แน่นอนโดยการไทเทรตกับสารละลาย

                       มาตรฐานโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ได้หาความเข้มข้นที่แน่นอนแล้วจากการไทเทรตกับ KHP โดยใช้ฟีนอ
                       ลพทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์เช่นเดียวกัน ความเข้มข้นของ HCl ที่หาได้จากการไทเทรตนี้ คือความ
                       เข้มข้นที่แน่นอน สามารถน าไปใช้เป็นสารมาตรฐานต่อไปได้ (ชูติมา และ ธวัชชัย, 2534)

                              อุปกรณ์
                              (1) เครื่องชั่ง (balance)

                              (2) บีกเกอร์ (beaker) ขนาด 50, 100 และ 1000 mL
                              (3) แท่งแก้ว (stirring rod)
                              (4) กระบอกตวง (cylinder) ขนาด 10, 20 และ 50 mL
                              (5) ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask) ขนาด 250 mL

                              (6) ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) ขนาด 1 L
                              (7) โถดูดความชื้น (desiccator)
                              (8) ตู้อบ (oven)

                              (9) หลอดหยดสารเคมี (dropper)
                              (10)  เตาควบคุมอุณหภูมิ (Hot plate)
                              (11)  บิวเรตต์ (Burette)

                              สำรเคมี
                              (1) 0.1 N HCl

                              ใช้กระบอกตวงอย่างละเอียด ตวงกรดเกลือเข้มข้นมา 9 mL เทลงในขวดวัดปริมาตรขนาด 1
                       L ที่มีน้ ากลั่นอยู่แล้วประมาณ 500 mL จากนั้นปรับปริมาตรด้วยน้ ากลั่นจนได้ 1 L แล้วเขย่า
                       สารละลายในขวดให้ผสมกันอย่างทั่วถึง
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102