Page 45 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-30






                  ลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของ

                  วัตถุต้นกําเนิดดินในบริเวณนั้นๆ ส่วนใหญ่มักมีเศษหิน ก้อนหินและหินพื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป


                           เนื่องจากหน่วยแผนที่นี้ประกอบด้วยดินบริเวณเชิงเขาที่มีดินหลายอย่างเกิดปะปนกัน
                  ดังนั้นในแผนที่ดินระดับจังหวัดจึงเรียกดินเหล่านี้ว่า ดินที่ลาดเชิงเขา


                           กลุ่มชุดดินที่ 62

                           กลุ่มดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา และเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35  ลักษณะ
                  และสมบัติของดินที่พบไม่แน่นอนมีทั้งดินลึก และดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตาม

                  ธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกําเนิดในบริเวณนั้นมักมีเศษหิน ก้อนหินหรือ

                  พื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
                  หรือป่าดงดิบชื้น หลายแห่งมีการทําไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและนํ้า

                  ซึ่งเป็นผลทําให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินจนบางแห่งเหลือแต่หินโผล่ กลุ่มดินนี้ไม่ควร

                  นํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร  เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ
                  ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธารต่อไป


















































                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                            กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50