Page 19 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-4






                  มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้

                  เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร  มรสุมนี้จะนํามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย  ทําให้

                  มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะ
                  มีฝนมากกว่าบริเวณอื่น ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือน

                  กุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและ

                  สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกําเนิดเข้ามากคลุมประเทศไทย ทําให้

                  ท้องฟ้ าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป  โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วน
                  ภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้ นําความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม

                        2.2.2 ฤดูกาล

                             จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทย ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในประเทศเขตร้อนอันมีที่ตั้งอยู่

                  เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียงเล็กน้อย สภาพภูมิอากาศโดยทั่วๆ ไป จึงเป็นแบบร้อนชื้น อากาศหนาว
                  พัดผ่านเข้าในระยะเวลาช่วงสั้นๆ เท่านั้น ฤดูกาลสําหรับประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาลด้วยกัน

                             1)  ฤดูฝน จะมีปริมาณฝนตกชุก เนื่องจากอิทธิพลของลมเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                  พัดปกคลุมประเทศ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม
                             2)  ฤดูหนาว เริ่มเมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย โดยมีช่วง

                  ระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ภูมิอากาศของประเทศไทย

                  จะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ที่ยังคงถือว่าเป็นฤดูฝนเพราะยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

                             3)  ฤดูร้อน จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
                  ช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์โดยดูเหมือนกับดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่าน

                  เส้นศูนย์สูตรขึ้นมาทางซีกโลกเหนือ ทําให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าว และจะร้อนที่สุดในช่วง

                  เดือนเมษายน

                        2.2.3 ปริมาณนํ้าฝน
                             จากข้อมูลสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมของปี พ.ศ. 2513-2558  นํามาพิจารณาเป็น

                  ตัวแทนลักษณะภูมิอากาศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ปริมาณ

                  นํ้าฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล
                  จากข้อมูลสถิติสภาพภูมิอากาศดังแสดงในตารางที่ 2-1  2-2  2-3  2-4 และตารางที่ 2-5

                             ปริมาณนํ้าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปี แต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือ 1,293.59 มิลลิเมตร

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,275.10 มิลลิเมตร ภาคกลาง 1,182.20 มิลลิเมตร และภาคตะวันออก 1,523.25มิลลิเมตร
                  ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตาม ลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตาม

                  ฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                            กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24