Page 95 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          71


                           8.2  การจําแนกระดับความเหมาะสมและกําลังผลิตของดินในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัด
                     นครราชสีมา

                                8.2.1 การจําแนกระดับความเหมาะสมและข้อจํากัดของกลุ่มชุดดินสําหรับปลูกมันสําปะหลัง


                                      โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO จะจําแนกความเหมาะสมของกลุ่มชุดดิน
                     จากผลของระดับความรุนแรงของแต่ละปัจจัยที่เป็นข้อจํากัด ส่งผลโดยตรงกับระดับความเหมาะสมของดิน
                     ที่ใช้ปลูกมันสําปะหลัง (ตารางที่ 23) โดยมีความสัมพันธ์กันในทางลบหรือแปรผกผันกัน ซึ่งข้อจํากัดรุนแรง
                     มากที่สุด (ระดับ 7-9) ของแต่ละปัจจัย จะส่งผลให้กลุ่มชุดดินที่มีข้อจํากัดรุนแรงมากที่สุดเป็นพื้นที่ไม่
                     เหมาะสมสําหรับปลูกมันสําปะหลัง (ตารางที่ 2) เช่น กลุ่มชุดดินที่ 15 มีระดับความรุนแรงของข้อจํากัด

                     สูงสุดในเรื่องของการถ่ายเทอากาศอยู่ที่ระดับ 8 จึงจัดอยู่ที่ระดับไม่เหมาะสม ข้อจํากัดรุนแรงมาก (ระดับ 5-6)
                     กลุ่มชุดดินจะมีระดับความเหมาะสมต่ํา เช่น กลุ่มชุดดินที่ 41 มีระดับความรุนแรงของข้อจํากัดสูงสุดในเรื่อง
                     ของโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสอยู่ที่ระดับ 6 จึงจัดอยู่ที่ระดับเหมาะสมต่ํา ข้อจํากัดรุนแรงน้อย (ระดับ 3-4)

                     กลุ่มชุดดินจะมีระดับความเหมาะสมปานกลาง เช่น กลุ่มชุดดินที่ 36 มีระดับความรุนแรงของข้อจํากัดสูงสุด
                     ในเรื่องฟอสฟอรัสอยู่ที่ระดับ 4 จึงจัดอยู่ที่ระดับเหมาะสมปานกลาง สําหรับกลุ่มชุดดินที่ไม่มีข้อจํากัด
                     (ระดับ 0) และข้อจํากัดไม่รุนแรง (ระดับ 1-2) จะมีระดับความเหมาะสมดีมากและเหมาะสมดีสําหรับปลูก
                     มันสําปะหลัง ตามลําดับ ผลการประเมินระดับความรุนแรง ข้อจํากัดและความเหมาะสมของดินด้วย

                     โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO แสดงในตารางที่ 32

                                      จากการคาดการณ์ของแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  สามารถจําแนกความ
                     เหมาะสมและระดับความรุนแรงของข้อจํากัดดินของกลุ่มชุดดินสําหรับปลูกมันสําปะหลัง  โดยแบ่งระดับ
                     ความเหมาะสมออกเป็น 3  กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา และ
                     กลุ่มที่ไม่เหมาะสม (ตารางที่ 33) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                      1) กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง เนื่องจากติดข้อจํากัดสูงสุดอยู่ในระดับรุนแรงน้อย ได้แก่

                                         กลุ่มชุดดินที่ 36 ติดข้อจํากัดระดับรุนแรงน้อยเรื่องฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ระดับ
                     ไม่รุนแรงเรื่องความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และไนโตรเจน
                                         กลุ่มชุดดินที่ 40  ติดข้อจํากัดระดับรุนแรงน้อยเรื่อง  ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน
                     ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ระดับไม่รุนแรงเรื่องโพแทสเซียม และปฏิกิริยาดิน

                                      2) กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา เนื่องจากติดข้อจํากัดสูงสุดอยู่ในระดับรุนแรงมาก ได้แก่

                                         กลุ่มชุดดินที่ 29 ติดข้อจํากัดระดับรุนแรงมากเรื่องเนื้อดิน ระดับรุนแรงน้อยเรื่อง
                     ความอิ่มตัวเบส ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ระดับไม่รุนแรงเรื่องความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ไนโตรเจน
                     และปฏิกิริยาดิน
                                         กลุ่มชุดดินที่ 31 ติดข้อจํากัดระดับรุนแรงมากเรื่องเนื้อดิน ระดับรุนแรงน้อยเรื่อง

                     และฟอสฟอรัส ระดับไม่รุนแรงเรื่องความอิ่มตัวเบส ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ไนโตรเจน ปฏิกิริยาดิน
                     และโพแทสเซียม
                                         กลุ่มชุดดินที่ 33 ติดข้อจํากัดระดับรุนแรงมากเรื่องฟอสฟอรัส และเนื้อดิน  ระดับ

                     รุนแรงน้อยเรื่องการถ่ายเทอากาศ และไนโตรเจน ระดับไม่รุนแรงเรื่องความอิ่มตัวเบส และความจุ
                     แลกเปลี่ยนแคตไอออน และความลึกของดิน
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100