Page 75 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          58


                                8.1.3 แฟ้มข้อมูลดิน

                                      จากการศึกษาสภาพการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัด
                     นครราชสีมา พบกลุ่มชุดดินที่ปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 31 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดิน

                     ที่ 1 4 7 7hi 15 17 18 19 20 20hi 22 28 29 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49 52 54 55
                     56 และ 60 มีเนื้อที่ 2,156,753 ไร่ หรือร้อยละ 16.89 ของเนื้อที่ทั้งหมด ซึ่งในแต่ละกลุ่มชุดดินจะใช้ชุดดิน
                     ตัวแทนที่พบในพื้นที่มากที่สุดมาใช้เป็นตัวแทนของกลุ่มชุดดิน เพื่อนํามาสร้างแฟ้มข้อมูลดิน (ภาคผนวกที่ 3)

                     โดยใช้ลักษณะและสมบัติของดิน ซึ่งค่าการนําเข้าในแฟ้มข้อมูลดินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน (ตารางที่ 24) ดังนี้
                                      1) ข้อมูลดินที่มีการประเมินระดับของปัจจัยในการนําเข้าแฟ้มข้อมูลดิน ประกอบด้วย

                     การถ่ายเทอากาศ (aeration) เนื้อดิน (texture) ความสามารถในการอุ้มน้ําที่มีประโยชน์ของดิน (AWC) และ
                     ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ (DRWC)  ซึ่งค่าระดับปัจจัยในส่วนนี้ โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช
                     PLANTGRO  ใช้การแปลผลของระดับปัจจัย โดยพิจารณาจากสมบัติของเนื้อดิน แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้น

                     ดินบน (layer  A)  เป็นชั้นผิวหน้าของดินแร่ธาตุ ชั้นดินล่าง (layer  B) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
                     ทางเคมีหรือการสะสม โดยกระบวนการสร้างตัวของดินและไม่มีลักษณะของวัตถุต้นกําเนิดดินหลงเหลืออยู่
                     ชัดเจน และชั้นที่น้ําสามารถแทรกซึมลงได้ (infiltration zone I : layer I) แต่รากพืชไม่สามารถหยั่งรากลงไป
                     ได้ หรือชั้นวัตถุต้นกําเนิดดิน ชั้นดินที่แสดงลักษณะวัสดุแตกต่างกัน (contrasting  materials)  หรือความไม่

                     ต่อเนื่องทางธรณี (lithologic discontinuity) รวมถึงระดับความลึกที่เป็นข้อจํากัดของการหยั่งรากพืช เช่น ใน
                     กรณีพบชั้นขวางหรือเป็นดินที่มีชิ้นส่วนหยาบปนอยู่ในดิน

                                      2) ข้อมูลดินที่ใช้ลักษณะและสมบัติดินในการนําเข้าแฟ้มข้อมูลดิน ประกอบด้วย ความ
                     อิ่มตัวเบส (BS) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC) ความลึกดิน (depth) ไนโตรเจน (N) ปฏิกิริยาดิน (pH)
                     ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) และความเค็ม (EC) ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ได้มาจากผลวิเคราะห์ดินที่ระดับ

                     ความลึก 0-25 เซนติเมตร และความลาดชันของดิน (slope) ใช้ค่าความลาดชันจากข้อมูลชุดดินจัดตั้ง นําข้อมูล
                     ลักษณะและสมบัติดินและค่าระดับปัจจัยที่พิจารณาจากสมบัติของเนื้อดินในการสร้างแฟ้มข้อมูลดินรวมทั้งหมด
                     21 ลักษณะ (ตารางภาคผนวกที่ 2)
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80