Page 108 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 108

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          79


                                      จากการคาดการณ์ของแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO นํามาจัดระดับความเหมาะสม
                     ของกลุ่มชุดดินตามข้อจํากัดสูงสุดสําหรับปลูกมันสําปะหลัง  สามารถแบ่งระดับความเหมาะสมของกลุ่มชุดดิน
                     ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา และกลุ่มที่ไม่เหมาะสม โดย

                     มีรายละเอียด ดังนี้

                                      1) กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดสูงสุดอยู่ในระดับรุนแรงน้อย ได้แก่
                                         กลุ่มชุดดินที่ 36 36B 36/36b  และ 36B/36Bb ติดข้อจํากัดฟอสฟอรัส และ
                     โพแทสเซียม มีเนื้อที่รวม 567,225 ไร่ หรือร้อยละ 4.43 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 40 40B 40B/35B 40B/40Bb 40B/41B และ 40B/56B ติดข้อจํากัด

                     ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส มีเนื้อที่รวม 1,684,946 ไร่ หรือร้อยละ 13.15
                     ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

                                      2) กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา มีข้อจํากัดสูงสุดอยู่ในระดับรุนแรงมาก ได้แก่
                                         กลุ่มชุดดินที่ 46B  48B/56B  และ 49B ติดข้อจํากัดความลึกของดิน มีเนื้อที่รวม
                     114,769 ไร่ หรือร้อยละ 0.90 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

                                         กลุ่มชุดดินที่ 35 35B 38 38B 35/48B 38/4 และ 38/7 ติดข้อจํากัดโพแทสเซียม
                     มีเนื้อที่รวม 489,780 ไร่ หรือร้อยละ 3.82 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 37  และ 37B ติดข้อจํากัดฟอสฟอรัส มีเนื้อที่รวม 353,953 ไร่ หรือ

                     ร้อยละ 2.76 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 29 29B 31 31B 55 55B 55/31b 55/55b 55B/55bB และ 55B/RC
                     ติดข้อจํากัดเนื้อดิน มีเนื้อที่รวม 1,544,053 ไร่ หรือร้อยละ 12.05 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 56B 56B/RC และ 56B/RL ติดข้อจํากัดความอิ่มตัวเบส และฟอสฟอรัส

                     มีเนื้อที่รวม 142,313 ไร่ หรือร้อยละ 1.11 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 47B  และ 47B/55B ติดข้อจํากัดความลึกของดิน และไนโตรเจน มี
                     เนื้อที่รวม 45,355 ไร่ หรือร้อยละ 0.35 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 41 41B 44 44B และ 60 ติดข้อจํากัดโพแทสเซียม และฟอสฟอรัส มี

                     เนื้อที่รวม 766,726 ไร่ หรือร้อยละ 5.99 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 33 และ 33B ติดข้อจํากัดฟอสฟอรัส และเนื้อดิน มีเนื้อที่รวม 73,244 ไร่
                     หรือร้อยละ 0.57 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 54B ติดข้อจํากัดปฏิกิริยาดิน และเนื้อดิน มีเนื้อที่รวม 3,925 ไร่ หรือ

                     ร้อยละ 0.03 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 52B ติดข้อจํากัดความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน และเนื้อดิน มีเนื้อที่
                     รวม 37,446 ไร่ หรือร้อยละ 0.29 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

                                      3) กลุ่มที่ไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดสูงสุดอยู่ในระดับรุนแรงมากที่สุด ได้แก่
                                         กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7hi 15 17 18 19 20hi และ 22 ติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศ

                     มีเนื้อที่รวม 1,526,748 ไร่ หรือร้อยละ 11.92 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                         กลุ่มชุดดินที่ 7 ติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศ และโพแทสเซียม มีเนื้อที่รวม
                     475,931 ไร่ หรือร้อยละ 3.72 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113