Page 46 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 46
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 3
การตรวจเอกสาร
3.1 ความหมายศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ดิน
คือ ศูนย์เครือข่ายของเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้น
เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอด และแหล่งสาธิต ศึกษา ดูงานด้านการพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และ
กรมพัฒนาที่ดินได้จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินขึ้นในพื้นที่หรือชุมชนของเกษตรกร
เช่นเดียวกัน โดยให้บริการเกี่ยวกับการสาธิตและบรรยายเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงบ ารุงดิน ฟื้นฟู
ดินเสื่อมโทรม สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพ สาธิตการปลูกหญ้าแฝก และจัดท าแปลง
สาธิตการท าเกษตรอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการ
เกษตร โดยมีหมอดินอาสาเป็นผู้ให้ความรู้ดังกล่าว (กองแผนงาน, 2556)
3.2 ดินมีปัญหา หมายถึงดินที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อย ส าหรับการเพาะปลูกทาง
การเกษตร หากน าดินเหล่านี้มาใช้ปลูกพืชจะไม่ได้ผลผลิตหรือได้ผลผลิตต่ า ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีการ
จัดการดินเป็นกรณีพิเศษกว่าดินทั่วไป ท าให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและให้ผลผลิตดี
เท่าที่ควร ดินมีปัญหาทางการเกษตร ดินมีปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ เกิดจากปัจจัยที่ก าเนิดดิน
ซึ่งประกอบด้วย วัตถุต้นก าเนิดดิน สภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ พืชพรรณปกคลุม และระยะเวลาที่
เกิดดิน ได้แก่ ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินทราย และดินตื้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
3.2.1 ดินเปรี้ยว คือดินที่มีสารประกอบไพไรต์ เป็นองค์ประกอบ เมื่อผ่านกระบวนการ
ออกซิเดชัน จะท าให้เกิดกรดก ามะถัน ในชั้นดินและฤทธิ์ของความเป็นกรดรุนแรงมากส่งผลกระทบ
ต่อการปลูกพืช ซึ่งค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ต่ ากว่า 4.5 ดินเปรี้ยวจัดแบ่งอกเป็น 3 ประเภท
1) ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดก ามะถันตื้น ชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากภายในความ
ลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน พบในกลุ่มชุดดินที่ 9 และ10
2) ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดก ามะถัน ชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากภายในความลึก
50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน พบในกลุ่มชุดดินที่ 11 และ14
3) ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดก ามะถัน ชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากภายในความลึก
100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน พบในกลุ่มชุดดินที่ 2
การใช้ประโยชน์พื้นที่ปัจจุบัน พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการท านา
ปลูกข้าว โดยการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยวัสดุปูนอัตราตามความต้องการปูนของดิน พื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
ภาคใต้ ใช้หินปูนฝุ่นส าหรับบางพื้นที่ได้ยกร่องปลูกปาล์มน้ ามัน หรือไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้โดโลไมท์
ปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดจัดของดินก่อนปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
3.2.2 ดินอินทรีย์ คือ ดินที่มีสารอินทรีย์ในรูปของอินทรีย์คาร์บอนอยู่ในเนื้อดินมากกว่าร้อย
ละ 20 โดยพบการสะสมของอินทรียวัตถุเป็นชั้นหนามากกว่า 40 เซนติเมตร มีซากพืชที่ผุผังและยัง
สลายตัวไม่หมดปะปนอยู่ พบในบริเวณที่ลุ่มน้ าขังชายฝั่งทะเลของภาคใต้และภาคตะวันออก
ประกอบด้วย กลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนา 40-100 เซนติเมตร จากผิวดิน ได้แก่กลุ่มชุดดินที่ 57
และกลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่กลุ่มชุดดิน 58