Page 20 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       10







                       2.2 สภาพภูมิอากาศ


                               จากสถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจวัดอากาศ จังหวัดน่าน (พ.ศ. 2546 - 2555) ได้น ามาใช้
                       พิจารณาเป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่โครงการ สามารถสรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 1 )

                               พื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่เกษตรโล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5

                       ต าบลสวด อ าเภอบ้านหลวง จังหวัดน่านจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical
                       savannah: Aw) ตามระบบการจ าแนกภูมิอากาศของ Koppen โดยมีปริมาณน้ าฝนรวมทั้งปี 1,293.5

                       มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 75.3 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.5 องศาเซลเซียส

                       อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยทั้งปี 33.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ยทั้งปี 20.3 องศาเซลเซียส
                       สามารถแบ่งลักษณะภูมิอากาศออกเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่

                               ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลม

                       มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนที่มีฝนตกหนักมากสุด คือ เดือนสิงหาคม ปริมาณฝนเฉลี่ย 273.1
                       มิลลิเมตร เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นที่พัดเข้ามาในช่วงดังกล่าว

                               ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลม
                       มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งแล้ง เดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ าสุด

                       เฉลี่ย 14.5 องศาเซลเซียส
                               ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ระยะนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออก

                       เฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปจะสูงขึ้นท าให้มีสภาพอากาศร้อนกว่าปกติ และจะร้อนมากที่สุดใน

                       เดือนเมษายน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36.7 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อาจจะมีพายุโซนร้อนเกิดขึ้น
                       เนื่องจากอากาศเย็นจากประเทศจีนได้เคลื่อนตัวลงมาเป็นครั้งคราว ท าให้เกิดปะทะกับอากาศร้อน

                       เขตท้องถิ่น เกิดเป็นแนวปะทะอากาศเย็น ท าให้มีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นแต่มีฝนตกไม่นาน

                               จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตร (ภาพที่ 2) โดยพิจารณาระหว่างค่าปริมาณน้ าฝนรายเดือน
                       เฉลี่ย กับค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าของพืชรายเดือนเฉลี่ย พบว่า ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการ

                       เพาะปลูกพืช อยู่ในช่วงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ช่วงขาดแคลนน้ าอยู่ระหว่าง

                       เดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ดังนั้น ควรวางแผนจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมและจัดหา
                       แหล่งน้ าสนับสนุน เพื่อป้องกันพืชผลเสียหายเนื่องจากฝนแล้ง และช่วงที่น้ ามากเกินพออยู่ระหว่าง

                       เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ช่วงเวลานี้อาจเกิดปัญหาน้ าท่วม ดินถล่ม ถ้ามีฝนตกติดต่อกันนาน
                       หลายวัน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25