Page 60 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     43





                             7.1.8 ธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดิน

                               จากการศึกษาข้อมูลทรัพยากรดิน (ส้านักส้ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน, 2556) และ
                  ข้อมูลธรณีวิทยา (กรมทรัพยากรธรณี, 2558) สามารถแบ่งลักษณะดินทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก้าเนิดดิน
                  ในพื้นที่ลุ่มน้้าน้้าแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) จังหวัดพะเยา ได้ดังนี้

                                1) ตะกอนน้้าพา (alluvial plain) เป็นที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้้า
                  ในฤดูน้้าหลาก น้้าจะไหลล้นสองฝั่งแม่น้้าท่วมบริเวณดังกล่าว และน้าตะกอนมาสะสม วัตถุต้นก้าเนิดของดิน
                  บริเวณนี้จะเป็นตะกอนน้้าพา
                                2) พื้นผิวเหลือจากการกัดกร่อนซอยแบ่ง (dissected  erosion  surface)  เป็นสภาพ
                  พื้นที่ที่เหลือตกค้างจากกระบวนการน้้ากัดเซาะพื้นที่ภูเขากลายเป็นที่ค่อนข้างราบ เมื่อมองแต่ไกลท้าให้

                  มีความรู้สึกว่าเป็นระนาบของพื้นที่เดียวกัน แต่ในปัจจุบันได้ขาดตอนเป็นห้วงๆ มีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                  วัตถุต้นก้าเนิดของดินที่เกิดอยู่ในบริเวณนี้มีหลายชนิด ซึ่งพอจะจ้าแนกออกได้ดังนี้
                                  2.1) วัตถุต้นก้าเนิดดินที่เกิดจากวัตถุตกค้างและเศษหินเชิงเขาของหินทราย และ

                  หินควอร์ตไซต์ ซึ่งถูกแทรกด้วยชั้นของหินดินดาน และหินฟิลไลต์หรือหินในกลุ่มเดียวกัน (residuum  and
                  colluvium from sandstone and quartzite interbeded with shale and phyllite or equivarent rocks)
                                  2.2) วัตถุต้นก้าเนิดดินที่เกิดจากวัตถุตกค้างและเศษหินเชิงเขาของหินดินดานที่มี
                  ทรายปน และ/หรือ หินทรายเนื้อละเอียด (residuum and colluvium from sandy shale and/or

                  fine grain sandstone)
                                3) พื้นที่ภูเขา (mountainous area) ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นภูเขา และมีความ
                  ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพื้นที่นี้จะประกอบไปด้วย บริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า ที่ลาดชันเชิงซ้อน
                  (slope complex)

                             7.1.9 ทรัพยากรดิน
                               การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้้าแม่น้้าอิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย)
                  จังหวัดพะเยา จากข้อมูลแผนที่กลุ่มชุดดินจังหวัดพะเยา มาตราส่วน 1:25,000 (ส้านักส้ารวจดินและวิจัย
                  ทรัพยากรดิน, 2556) สามารถสรุปทรัพยากรดิน ได้ดังนี้ (ตารางที่ 11 และภาพที่ 9)

                                 1) กลุ่มชุดดินที่ 5
                                   กลุ่มชุดดินที่ 5 เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก
                  เกิดจากการทับถมของตะกอนล้าน้้า พบในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่ตะพักล้าน้้าระดับต่้า สภาพพื้นที่

                  ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้้าของดินเลว มีน้้าท่วมขังในฤดูฝน
                  บางพื้นที่อาจพบรอยแตกระแหงและรอยไถลหรือพบก้อนปูนในหน้าตัดดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  ตามธรรมชาติปานกลาง
                                   ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีเทา
                  หรือสีเทาปนน้้าตาล มีจุดประสีเหลือง สีน้้าตาลหรือสีน้้าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรด

                  เล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาหรือสีน้้าตาลปนเทา
                  มีจุดประสีเหลืองสีน้้าตาล และอาจพบจุดประสีแดงของศิลาแลงอ่อนปริมาณมากกว่าร้อยละ 5  โดยปริมาตร
                  ภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) บางพื้นที่

                  อาจพบก้อนปูนหรือลูกรังของเหล็กและแมงกานีสในชั้นดินล่าง
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65