Page 22 - รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนาที่ดิน
P. 22

19


               และหมอดินอาสาเป็นกลไกการขับเคลื่อน (3) บูรณาการทำงาน ที่มีภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ร่วมเป็นหุ้นส่วน

               ความร่วมมือ โดยเจ้าหน้าที่รัฐสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน แรงจูงใจ ช่วยแก้ไขปัญหา สนับสนุนข้อมูล
               วิชาการ ความรู้ ปัจจัยการผลิต ตลอดจนประสานงานจนเกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ และ (4)
               สร้างระบบการบริหารจัดการสมาชิกและการควบคุมคุณภาพการผลิตของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

               ขยายตลาดความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

               ผลการดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด คือ  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมาย ทั้งนี้ จังหวัดยโสธร มี
               เกษตรกรเข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ จำนวน 556 คน (ร้อยละ 81.2) พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 5,931 ไร่

               (ร้อยละ 73.7) และจังหวัดอำนาจเจริญ มีเกษตรกรเข้าสู่ระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ จำนวน 103 คน
               (ร้อยละ 99.0) พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1,586 ไร่ (ร้อยละ 220.0) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากชนิด

               สินค้าอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 150 สร้างมูลค่าตลาดจากการขยายเครือข่ายผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น จาก
               เดิมมีมูลค่า 0.75 ล้านบาท เพิ่มเป็น 4.84 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6 เท่า และสามารถลดต้นทุนการผลิตจาก

               การไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรในพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น คือ จังหวัดยโสธร มีต้นทุนการผลิตลดลง
               4.27 ล้านบาทต่อปี และจังหวัดอำนาจเจริญ มีต้นทุนการผลิตลดลง 1.141 ล้านบาทต่อปี

                       ปัญหาที่พบในระหว่างดำเนินการ คือ เกษตรกรขาดความเชี่ยวชาญในการผลิตพืชหลังนา ปัญหาภัย

               แล้ง ไม่มีแหล่งน้ำสำรอง มีรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว และขาดเครื่องจักรอุปกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่ ซึ่ง
               กรมฯ ได้แก้ไขปรับปรุงการทำงานด้วยการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงาน ตลอดจนรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้

               ในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย มีส่วนร่วมวิเคราะห์วางแผนการปลูกเพื่อลดความเสี่ยงของผลผลิตเสียหาย สนับสนุน
               บ่อน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานให้กับพื้นที่เกษตรอินทรีย์เป็นอันดับแรก ตลอดจนสนับสนุนการรวมกลุ่ม
               เกษตรกรเพื่อจัดหาแหล่งเงินทุนในการจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในลำดับต่อไป ส่งผลให้เกษตรกรมีความ

               พึงพอใจ ทรัพยากรดินได้รับการรักษาฟื้นฟู ทำให้อาชีพเกษตรมีรายได้ที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมี
               ความสุข ผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs ที่ 2 ยุติความ

               หิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26